Google WWW Blog e4thai www.e4thai.com

แหล่งความรู้อ้างอิงทางพระพุทธศาสนา (& verb ธรรมะสำหรับพระและโยม)

 dhamma dict

สวัสดีครับ

       ทุกวันนี้การหาความรู้ทางพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องง่ายดายมาก นอกจากเว็บธรรมะต่าง ๆ แล้ว ผมขอแนะนำเว็บแหล่งความรู้ทางธรรมที่ใช้อ้างอิงได้สัก 3-4 เว็บ ข้างล่างนี้  มีให้ศึกษา ทั้ง online และ offline

       ผมมานั่งนึกดูว่า ยุคนี้มีคนไทยผู้ใดบ้างที่จำเป็นต้องพูดธรรมะเป็นภาษาอังกฤษ  และก็ได้คำตอบว่า มันอาจจะไม่จำเป็น แต่ถ้าเราสามารถพูดได้-เขียนได้ มันก็มีประโยชน์ คือเป็นประโยชน์ต่อเราซึ่งเป็นผู้พูด และต่อคนอื่น (เพื่อนหรือคนร่วมงานที่เป็นชาวต่างชาติ)  ผมลองไล่เรียงดู  ก็ได้ไอเดียข้างล่างนี้ขึ้นมาในสมอง...

ถ้าพระภิกษุในเมืองไทย สามารถพูดธรรมะเป็นภาษาอังกฤษได้ อย่างน้อยท่านเหล่านี้จะสามารถเป็น “พ่อค้า” “ขาย” ธรรมะซึ่งเป็น “สินค้า” ทางจิตวิญญาณ ให้แก่ชาวต่างชาติที่มาเยือนเมืองไทย แม้ว่านักท่องเที่ยวเหล่านี้ไม่ได้มาเมืองไทยเพื่อแสวงหาธรรมะ แต่ถ้าเรามีพระพูดธรรมะให้เขาฟังเป็นต้นทุนไว้ก่อน เรื่องอื่น ๆ เช่น การจัดสถานที่, จัดคอร์สสั้น ๆ มันก็พอจะทำได้กว้างขวางขึ้น ไม่ใช่เป็นอย่างทุกวันนี้ที่ทั้งประเทศมีเพียงไม่กี่วัด ที่มีคอร์สธรรมะภาษาอังกฤษให้ชาวต่างชาติ register

ถ้าคนไทยที่สนใจธรรมะ พอจะรู้ศัพท์ธรรมะบางคำเป็นภาษาอังกฤษและพูดให้เพื่อนต่างชาติฟังได้อย่างมั่นใจบ้าง อาจจะในโอกาสที่พาไปเที่ยววัด โดยไปรถส่วนตัว หรือไปรถสาธารณะอย่างเช่นที่ ขสมก. อู่บางเขนเขาจัดเที่ยว ๙ วัดวันเสาร์-อาทิตย์ อย่างนี้ถ้าทำได้ก็ดีและไม่เคร่งเครียดด้วย

ผมยังคิดเลยว่า บางวัดที่มีการจัดการดีอาจสามารถทำได้ โดยมีจิตอาสาธรรมะที่สามารถคุยธรรมะเป็นภาษาอังกฤษได้ประจำอยู่ที่วัดในวันเสาร์อาทิตย์ โดยเฉพาะวัดที่เป็นย่านผ่านไปมาของนักท่องเที่ยว ลองเริ่มทำดูก่อนก็ได้ครับ และค่อยปรับปรุงไปเรื่อย ๆ ผมจำได้ตอนที่ไปไหว้พระพุทธเจ้าที่พุทธคยาหลายปีมาแล้ว ที่นั่นมีวัดพุทธจากหลายชาติสร้างไว้ เรื่องหนึ่งที่ผม sense ได้ก็คือ บางวัดเช่นจากประเทศญี่ปุ่น พระของเขาพูดภาษาอังกฤษได้ การสื่อสารระหว่างวัดกับผู้ไปเที่ยววัดจึงลึกขึ้นอีกระดับหนึ่ง แต่ถ้าวัดจากประเทศไหนที่พระผู้ต้อนรับพูดภาษาอังกฤษได้ลำบาก สิ่งที่วัดมีให้ก็เพียงสิ่งก่อสร้างที่ผู้เยือนสัมผัสได้ด้วยตา ซึ่งอาจจะไม่ลึกเท่าภาษาที่สัมผัสได้ถึงใจ เราคนไทยสามารถทำให้เมืองไทยเป็นพุทธคยาย่อย ๆ ได้ ถ้าเรามีธรรมะพร้อมทักษะภาษาอังกฤษ

ผมเข้าไปดูในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ ที่แนะนำข้างต้น และลองรวบรวม verb ธรรมะที่พระและโยมสามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้  ศัพท์ธรรมะพื้นฐานทำนองนี้ยังมีอีกเยอะ เป็นศัพท์ที่เราอาจจะไม่คุ้น  แต่ถ้าได้อ่านผ่านตา-ได้พูดผ่านปาก สัก 2 – 3 ครั้ง ก็จะคุ้นเคยได้เอง  และถ้าคุ้นเคยแล้ว  อะไร ๆ ที่ยากไม่เคยทำ ก็อาจจะทำได้

ลองไล่ดูทีละคำครับ....

กราบ
to bow to the ground; to pay respect by making the five-point prostration; to prostrate.
ครองผ้า
to don; wear; put on (the yellow robe).
คุกเข่า
to sit on one’s heels; kneel.
จงกรม
to walk up and down.
จาริก
to wander; go on a journey.
จารึก
to inscribe; incise; engrave.
จำวัด
(of a monk or novice) to sleep.
ฉลอง
to celebrate.
ฉัน
(of a monk or novice) to eat; take food.
ตรัสรู้
to be enlightened; attain enlightenment.
ตักบาตร
to offer food to the monks on their almsround.
ถวาย
to offer, give or present (to a monk or a prince).
ทอดผ้า [บังสุกุล]
to lay a robe (as an offering to a monk at a
funeral or memorial ceremony); lay down a
funeral robe.
ทอดผ้าป่า
to leave a robe (together with other offerings)
for the monks to take as a discarded cloth;
hold a Forest-Robe Presentation Ceremony.
ทำบุญ
to make merit; do merit; do good; perform meritorious action.
เทศนา
to preach; expound the Doctrine; give a sermon.
นินทา
to blame; calumniate; speak ill of a person.
นิมนต์
to invite (a monk).
บริจาค
to donate; give; give up.
บวช
to go forth; give up or renounce the world;
become an ascetic, a Bhikkhu or a novice; be
ordained; join or enter the Order.
บังสุกุล
to meditate and take a
funeral (or memorial) robe.
บำเพ็ญ
to fulfil; cultivate;develop; practise.
บิณฑบาต
to go for alms; go for collecting
alms; go for alms-gathering; go on an
almsround; receive food-offerings.
ประเคน
to present (something to a monk) with the hand.
ประชุมเพลิง
to light the funeral pyre.
ประทักษิณ
to circumambulate; make a triple circumambulation.
ประพรม
to sprinkle.
ปลงอาบัติ
to confess an offence.
ปวารณา
invite to ask or to speak.
ปิดทอง
to gild; cover with gold leaf; put a gold leaf on. adj. gilded;
covered with gold leaves.
แผ่เมตตา
to wish others (or all
beings) to be well and happy.
พนมมือ
to lift the joined
palms as a token of reverence; put the hands
together (at the chest or forehead) in
salutation.
พับเพียบ
to sit flat with both legs tucked back to one side; sit
sideways.
สมาทาน
to undertake; take upon oneself.
สรงน้ำ
(of a monk or novice) to bathe
สวดปาฏิโมกข์
to recite or chant the
Fundamental Precepts.
สวดมนต์ [ทั่ว ๆ ไป]
to pray; chant; say a prayer.
สวดมนต์, [ในพุทธศาสนา]
to recite (the Buddha’s
teachings); chant; chant the holy stanzas.
สึก
to leave the Order; leave monkhood; disrobe.
ไหว้
to salute with joined palms.

พิพัฒน์

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Google
Search WWW Search Blog e4thai Search www.e4thai.com