Google WWW Blog e4thai www.e4thai.com

อยู่เมืองไทย แต่นั่งฟังเล็กเชอร์ที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา(2)

 sil-lai-abrams-arm-gw-086

สวัสดีครับ

     ผมเคยเขียนบทความเรื่องนี้เมื่อวันที่

คลิก==>อยู่เมืองไทย แต่นั่งฟังเล็กเชอร์ที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา

โดยได้แนะนำเว็บมหาวิทยาลัย 6 แห่งในสหรัฐอเมริกาที่มีคลิปความรู้ให้ท่านคลิกเข้าไปฟังเล็กเชอร์ได้

     วันนี้ผมผมขอพูดเรื่องนี้ต่ออีกสักครั้ง

     สำหรับท่านที่รักการเรียนรู้ตลอดเวลา การฟังเล็กเชอร์เป็นเรื่องที่น่าพิสมัยมาก ตามความรู้สึกของผม แม้การอ่านตำรา หรือบทความก็อาจได้รับความรู้เช่นกัน แต่มันก็ต่างจากการฟังคำบรรยายหรือเล็กเชอร์ เพราะการฟังเล็กเชอร์ มันมีมิติของความรู้สึก ระหว่างเราซึ่งเป็นคนผู้รับความรู้กับผู้เล็กเชอร์ซึ่งเป็นคนผู้ให้ความรู้ ทั้งน้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง ของผู้บรรยาย มันให้ความรู้สึกที่เราไม่ได้จากการอ่าน ว่าไปแล้วการเล็กเชอร์เป็นวิธีการถ่ายถอดความรู้จากคน ๆ เดียวซึ่งเป็นผู้พูด สู่คนหลายคนซึ่งเป็นผู้ฟัง และน่าจะเป็นวิธีการถ่ายถอดความรู้ที่โบราณที่สุด อาจจะตั้งแต่ยังไม่มีการประดิษฐ์ภาษาเขียนขึ้นมาใช้ในโลกด้วยซ้ำไป และแม้โลกสมัยใหม่จะมีเทคโนโลยีผลิตสื่อที่ช่วยถ่ายทอดความรู้มากมาย แต่วิธีเล็กเชอร์ก็ยังเป็นวิธีโบราณที่ศักดิ์สิทธิ์และได้ผลอยู่เหมือนเดิม

     บทความวันนี้ผมขอแนะนำเพิ่มเติม ถึงวิธี Search ให้ได้เรื่องโดยเจาะจงที่เราต้องการฟัง วิธีที่แนะนำนี้ยังไม่ค่อย perfect นัก แต่ก็น่าจะพอใช้ได้ หากท่านได้เทคนิคดี ๆ เพิ่มเติม เขียนมาเล่าด้วยนะครับ

ทำอย่างนี้ครับ

[1] ไปที่หน้า Google Advanced Search

http://www.google.com/advanced_search

และในช่องที่เขาให้ไว้ ให้ท่านพิมพ์ หรือเลือก ดังนี้

  • all these words: พิมพ์ key word เป็นภาษาอังกฤษที่ท่านต้องการค้น ลงไป โดยให้คิดว่ามันน่าจะเป็นคำที่ใช้เป็นชื่อหัวข้อในการเล็กเชอร์ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย สมมุติในที่นี้คือคำว่า Thai politics
  • language: เลือก English
  • region: เลือก United States                
  • site or domain: พิมพ์คำว่า edu ลงไป (edu มาจาก education คือ เรากำลังให้ Google หาเฉพาะเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษา คือ มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา)
  • คลิก Advanced Search ข้างล่าง
  • เมื่อ Google แสดงผลแล้ว, ให้ท่านคลิกที่ปุ่ม Videos

คลิกดูผลที่ Google แสดง

[2]ถ้าท่านต้องการกรองผลการค้นของ Google ให้เจาะจงยิ่งขึ้น ก็ให้คลิก Search tools, และคลิกตัวเลือกในบรรทัดล่างลงมา คือ ที่ปุ่ม Any duration และปุ่ม Any time

     ขอเรียนว่า เรื่องที่ท่านหานั้น อาจจะหาได้ยาก-ง่าย, มาก-น้อย, ตรง-ไม่ตรง กับที่ท่านต้องการ อันนี้ขึ้นอยู่กับว่า มันมีคลิปเล็กเชอร์เรื่องนั้น ๆ อยู่ในเว็บของมหาวิทยาลัยมากหรือน้อย

[3]หรืออีกวิธีหนึ่ง ตรงช่อง site or domain: ท่านปล่อยว่างไว้ (ไม่ต้องพิมพ์คำว่า edu) แต่ในช่อง all these words: ให้พิมพ์คำว่า university lecture ลงไปด้วย

คลิกดูผลที่ Google แสดง

     สุดท้ายที่อยากจะแสดงความเห็นก็คือ: เล็กเชอร์ที่เป็นความเห็นนั้น เราฟังเพื่อให้รู้ว่า นักวิชาการตะวันตกนั้น เขามีข้อมูลอะไรอยู่ในหัว, เขาคิดเห็นอย่างไร, เขาพูดอย่างไร ไม่ได้แปลว่า สิ่งที่เขามี-คิด-พูด นั้นจะต้องถูกหรือผิด

     เอาละครับ ที่เล่ามาทั้งหมดนี้เป็นการหาเล็กเชอร์จริง ๆ

     แต่ว่ามีบางเว็บที่เป็นเสียงเล็กเชอร์ปลอม ๆ คือ มีเนื้อเรื่องเหมือนกับให้เราฝึกฟังเล็กเชอร์ สำหรับเตรียมตัวสอบ เช่น TOEFL หรือ TOEIC ผมลองฟังดูแล้ว น่าสนใจครับ เพราะเนื้อเรื่องมักเป็นความรู้ หรือเป็นเรื่องที่เราไม่เคยรู้มาก่อน หรือเอาไปคุยต่อได้ และยังได้ฝึก listening skill ที่มี test ให้ทำหลังฟัง และมีเฉลยให้ดูอีกด้วย

พิพัฒน์

https://www.facebook.com/En4Th

Google
Search WWW Search Blog e4thai Search www.e4thai.com