รวม ๑๒๐ คำ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับคำว่า "พูด"

 การพูดในโอกาสต่าง-ๆ

หากพบคำอื่นที่นอกเหนือจากนี้ ช่วยแจ้งด้วยนะครับ ผมจะนำมาเพิ่มเพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอบคุณมากครับ

  1. กระซุบกระซิบ    ก. พูดกันเบา ๆ.
  2. กัดหางตัวเอง    (สํา) ว. พูดวนไปวนมา.
  3. เกี้ยวพาน, เกี้ยวพาราสี ก. พูดให้รักในเชิงชู้สาว.
  4. กระเซ้า    ก. พูดรบเร้า, พูดเย้าแหย่.
  5. กะล่อน ๒    ว. พูดคล่อง แต่ไม่จริงเป็นส่วนมาก.
  6. โกหก    ก. จงใจกล่าวคําที่ไม่จริง, พูดปด, พูดเท็จ, (มักใช้ในที่ไม่สุภาพ).
  7. ขวานผ่าซาก    (สํา) ว. โผงผางไม่เกรงใจใคร (ใช้แก่กริยาพูด).
  8. ขอตัว    ก. พูดเพื่อให้ยกเว้นตัวเอง.
  9. ขอ ๒    ก. พูดให้เขาให้สิ่งที่ต้องการ, วิงวอน.
  10. ขัดคอ    ก. พูดแย้งขวางเข้ามา, ไม่ให้ทําได้โดยสะดวก.
  11. ข่มขวัญ    ก. ทําให้ขวัญเสีย เช่น พูดข่มขวัญฝ่ายตรงข้าม.
  12. ขาน ๑    ก. กล่าว, เรียก, เอ่ย, พูด, ตอบ, เช่น ขานรับ ขานยาม.
  13. คืนคำ    ก. พูดว่าจะให้แล้วไม่ให้.
  14. คุยเขื่อง, คุยโต    (ปาก) ก. พูดจาแสดงความใหญ่โต.
  15. เคยปาก    ก. พูดอย่างนั้นเสมอ ๆ, พูดจนเป็นนิสัย.
  16. คลุม ๆ    ว. พูดไม่บ่งชัดให้จะแจ้ง เช่น พูดคลุม ๆ.
  17. เคาะแคะ    ก. พูดพาดพิงเชิงชู้สาว, พูดเชิงเกี้ยวพาราสี, เกาะแกะ ก็ว่า.
  18. งึมงำ    ว. เสียงพูดหรือบ่นพึมพํา.
  19. จา    (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ก. พูด, กล่าว.
  20. โจษจน, โจษแจ    (กลอน) ก. พูดอึง, เล่าลือกันอื้ออึง.
  21. จาระไน    ก. พูดชี้แจงอย่างละเอียดลออหรือถี่ถ้วน.
  22. จีบปาก, จีบปากจีบคอ    ก. พูดอย่างดัดจริต, พูดเชิงประจบประแจง.
  23. จับเข่าคุยกัน, จับหัวเข่าพูด    (ปาก) ก. พูดปรับความเข้าใจกันอย่างใกล้ชิด.
  24. โฉงเฉง    ว. เอะอะเอ็ดอึงเป็นทํานองเกะกะเกเร เช่น พูดจาโฉงเฉง.
  25. ฉอเลาะ    ว. พูดออดอ้อนหรือแสดงกิริยาทํานองนั้นเพื่อให้เขาเอ็นดูเป็นต้น (มักใช้เฉพาะเด็กหรือผู้หญิง).
  26. ชี้แจง    ก. พูดขยายความให้เข้าใจชัดเจน.
  27. ชักใบให้เรือเสีย    (สํา) ก. พูดหรือทําขวาง ๆ ให้การสนทนาหรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป.
  28. ชุ่ย ๑, ชุ่ย ๆ    ว. หวัด ๆ, มักง่าย, ไม่ได้เรื่องได้ราว, เช่น เขียนชุ่ย ๆ ทําชุ่ย ๆ พูดชุ่ย ๆ.
  29. ชัด    ว. ประจักษ์แจ้ง, แจ่มแจ้ง, เช่น เห็นชัด ปรากฏชัด; ไม่ผิดเพี้ยน, ไม่แปร่ง, เช่น พูดชัด.
  30. ซิบซับ    ก. พูดซุบซิบ, พูดกระซิบ.
  31. ซ้อมค้าง    ก. พูดทึกทักเอาราวกับเป็นจริง.
  32. ซุบซิบ    ก. พูดกันเบา ๆ ไม่ต้องการให้คนอื่นได้ยิน, กระซุบกระซิบ ก็ว่า.
  33. เซ้าซี้    ก. พูดรบเร้ารํ่าไรเพื่อให้ได้ตามที่ต้องการ, กระเซ้ากระซี้ ก็ว่า.
  34. ซ้ำ    ว. มีหรือทําอย่างเดียวกันอีกครั้งหนึ่งหรือหลาย ๆ ครั้ง เช่น พูดซํ้า ตีซํ้า.
  35. ดักคอ    ก. พูดสกัดหรือกันไว้ล่วงหน้า.
  36. ดัง ๒    ว. บังเกิดเสียงขึ้นหรือทําให้เสียงบังเกิดขึ้นอย่างแรง เช่น กลองดัง พูดดัง เสียงดัง.
  37. ดูหมิ่น ๒, ดูหมิ่นถิ่นแคลน    ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย หรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, หมิ่น ก็ว่า.
  38. ดำรัส    [-หฺรัด] น. คําพูดของเจ้านาย ใช้ว่า พระดํารัส, คําพูดของพระมหากษัตริย์ ใช้ว่า พระราชดํารัส. ก. พูด (ใช้แก่เจ้านาย). (แผลงมาจาก ตรัส).
  39. แดก ๑    ก. อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา เรียกว่า ลมแดกขึ้น; (ปาก) กิน, กินอย่างเกินขนาด, (ใช้ในลักษณะที่ถือว่าไม่สุภาพ), โดยปริยายใช้แทนกริยาอย่างอื่นที่มีอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น; พูดกระทบให้โกรธ โดยยกเอาสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งชอบขึ้นมาย้อนเปรียบเทียบ.
  40. เต็มตื้น    ก. ดีใจจนพูดไม่ออก.
  41. ตัดบท    ก. พูดให้ยุติเรื่องกัน; แยกคําออก.
  42. ตกตะลึง    ก. ตกใจจนพูดไม่ออก, แสดงอาการงงงัน.
  43. ตอแหล ๑    [-แหฺล] เป็นคําด่าคนที่พูดเท็จ (มักใช้แก่ผู้หญิง); ช่างพูดและแสดงกิริยาน่ารัก (ใช้เฉพาะเด็กที่สอนพูด).
  44. ตีสำนวน    ก. พูดใช้สํานวนโวหารเป็นเชิงอวดฉลาด.
  45. ติดสำนวน    ก. พูดใช้สํานวนมาก ๆ, พูดจาเล่นสํานวน.
  46. ถาม    ก. พูดเพื่อรับคําตอบ.
  47. ไถ่ ๒    (ถิ่นพายัพ) ก. ถาม, พูดคุย.
  48. ถั่งถ้อย    (กลอน) ก. พูดพลั่ง ๆ ออกมา, เบิกความ.
  49. ถวายพระพร    คําเริ่มที่พระสงฆ์พูดกับเจ้านายและเป็นคํารับ.
  50. ถอนหงอก    (สํา) ก. ไม่นับถือความเป็นผู้ใหญ่, พูดว่าให้เสียผู้ใหญ่.
  51. เถียง ๑    ก. พูดโต้, พูดแย้ง, พูดโต้แย้ง
  52. ทุ้ย    ก. พูดเดาส่ง, พูดพุ่งส่ง.
  53. แทงใจดำ    (สํา) ก. พูดตรงกับความในใจของผู้ฟัง.
  54. ทะลุกลางปล้อง    ก. พูดสอดขึ้นมาในเวลาที่เขากําลังพูดกันอยู่.
  55. ทุกวี่ทุกวัน    (ปาก) ว. ทุกวัน เช่น พูดกรอกหูอยู่ทุกวี่ทุกวัน.
  56. ท่านั้นท่านี้    (สํา) ว. อย่างนั้นอย่างนี้, โยกโย้, เช่น พูดท่านั้นท่านี้.
  57. นอกบาลี    ก. พูดหรือทํานอกแบบฉบับ.
  58. แนะแหน    [แหฺน] ก. แนะ, พูดเสนอให้ชอบใจ.
  59. น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง    (สํา) ก. พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย.
  60. นายว่าขี้ข้าพลอย    (สํา) ก. พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย.
  61. น้ำท่วมปาก    (สํา) ก. พูดไม่ออกเพราะเกรงจะมีภัยแก่ตนหรือผู้อื่น.
  62. บ้าน้ำลาย    ว. ชอบพูดพล่าม, ชอบพูดเพ้อเจ้อ.
  63. บอกปัด, บอกเปิด    ก. พูดปัดไปให้พ้นตัว, พูดอย่างไม่รู้ไม่ชี้.
  64. บ่างช่างยุ    (สํา) น. คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน.
  65. บทเจรจา    น. คําที่ตัวละครพูดเป็นร้อยกรองหรือถ้อยคําธรรมดา.
  66. บ่น    ก. พูดพรํ่าหรือว่ากล่าวซํ้า ๆ ซาก ๆ; กล่าวซํ้า ๆ กัน เช่น ท่องบ่นภาวนา.
  67. บ่นถึง ก. กล่าวถึงบ่อย ๆ.
  68. ปด, ปดโป้     ก. โกหก, พูดเท็จ, จงใจกล่าวคําที่ไม่จริง.
  69. ปากกล้า    ว. พูดไม่เกรงกลัวใคร.
  70. ปากปลาร้า    (สํา) ว. ชอบพูดคําหยาบ.
  71. ปากว่ามือถึง    (สํา) ก. พอพูดก็ทําเลย.
  72. ปากร้ายใจดี    ก. พูดจาดุด่าแต่น้ำใจดี.
  73. ปากหมา    ว. ชอบพูดจาว่าร้ายคนอื่น.
  74. ผลอ    [ผฺลอ] ว. โบ๋, โหว, เช่น ปากผลอ; ประจบประแจง เช่น พูดผลอ.
  75. ผย่ำเผยอ    [ผะหฺยํ่าผะเหฺยอ] ก. ปํ้า ๆ เป๋อ ๆ เช่น ทําหาวเรอพูดผยํ่าเผยอ. (พงศ. เลขา).
  76. เผยอ    ว. อวดดี, ทำไปโดยไม่รู้จักประมาณตน, เช่น เผยอทํา เผยอพูด.
  77. โผงผาง    ว. ลักษณะการพูดตรง ๆ ไม่เกรงใจ, ไม่ยับยั้งอ้อมค้อม, โผง ก็ว่า.
  78. ฝอย    (ปาก) ก. พูดมากและเกินความจริง.
  79. พูดจา    ก. พูด.
  80. พูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ (สํา) ก. พูดห้วน ๆ.
  81. พร่ำพลอด    ก. พูดออดอ้อนออเซาะ.
  82. พลั้งปาก    ก. พูดไปโดยไม่ทันคิด.
  83. พูดเป็นน้ำไหลไฟดับ, พูดเป็นไฟ ก. พูดคล่องเหลือเกิน.
  84. ภาษ    [พาด] ก. พูด, กล่าว, บอก. (ส.; ป. ภาส).
  85. ภณะ    [พะ–] (แบบ) ก. กล่าว, พูด, บอก. (ป., ส.).
  86. มึงวาพาโวย    ก. พูดจาเอะอะโวยวาย.
  87. มิตภาณี    น. คนพูดพอประมาณ. (ป.).
  88. โม้    (ปาก) ว. โว, พูดเกินความจริง.
  89. มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก    (สํา) ก. พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลงไปมาจนจับคําพูดไม่ทัน. น. คนกลับกลอก.
  90. มั่นเหมาะ    ว. แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง เช่น พูดไว้เป็นมั่นเหมาะว่าวันนี้จะต้องพบกัน.
  91. ยะงันจะคับ    ว. พูดไม่ได้. (ช.).
  92. ยั่วเย้า    ก. พูดหยอกล้อ, กระเซ้า.
  93. ยืนยัน    ก. พูดคงคําโดยแน่นแฟ้น, พูดรับว่ารู้เห็นหรือทำเป็นต้นโดยแน่นอน
  94. ไยไพ    ก. เยาะเย้ย, พูดให้เขาอาย.
  95. โย ๑    (ปาก) ก. พูดแขวะ, พูดชวนวิวาท.
  96. เย็บปาก    (ปาก) ก. ปิดปากเงียบไม่ยอมพูด.
  97. เราะร้าย    ก. พูดมากหยาบคาย, พูดไม่เพราะ.
  98. รวบรัด    ก. ทําให้สั้นเข้าให้เร็วเข้า เช่น พูดรวบรัด.
  99. ร่ำร้อง    ก. พร่ำร้องขอ, พูดอยู่บ่อย ๆ, เช่น ลูก ๆ ร่ำร้องจะไปเที่ยวเขาดิน.
  100. เรื่อยเปื่อย    ว. เรื่อย ๆ ไปโดยไม่มีจุดหมาย เช่น พูดเรื่อยเปื่อย เดินเรื่อยเปื่อย.
  101. รำพึงรำพัน    ก. พูดอย่างที่คิดคำนึงอยู่ เช่น เขารำพึงรำพันว่า โลกนี้น่าอยู่จริงหนอ.
  102. ลุ้ย    ก. พูดไม่ยับยั้ง.
  103. ละครชวนหัว    น. ละครพูดประเภทขำขัน.
  104. ล่อแล่    ก. พูดไม่ชัด, พูดไม่ได้ความ.
  105. เล่นลิ้น    ก. พูดเป็นสํานวนไม่ตรงไปตรงมา.
  106. ลดเลี้ยวเกี้ยวพา    ก. พูดจาหว่านล้อมเป็นเชิงเกี้ยว.
  107. เว้า ๑    (ถิ่นอีสาน) ก. พูด.
  108. ว่าส่ง ๆ, ว่าส่งเดช    ก. พูดพล่อย ๆ ไม่มีเหตุผล.
  109. ว่าเอาเอง    ก. พูดแต่งเรื่องขึ้นมาเอง.
  110. วิภาษ    ก. พูดแตกต่าง, พูดแย้ง. (ส. วิ + ภาษฺ).
  111. ว่าข้ามหัว, ว่าส่ง    ก. พูดลอย ๆ ไม่เจาะจงคู่กรณีหรือผู้ถูกว่า.
  112. ศอกกลับ    ก. หมุนตัวตีศอกทางด้านหลัง เป็นท่ามวยไทยท่าหนึ่ง; โดยปริยายหมายความว่า ย้อนว่าสวนคํา, พูดตอบสวนควัน, เช่น พอเขาว่ามาก็ศอกกลับไป.
  113. ส่อเสียด    ก. อาการที่พูดยุยงให้ผู้อื่นแตกแยกกัน.
  114. สำนาน    น. เสียง, เสียงพูด.
  115. ใส่ถ้อยร้อยความ    (สํา) ก. ใส่ความ, พูดหาเหตุหาเรื่อง.
  116. เสียงเหน่อ    น. เสียงพูดที่เพี้ยนไปจากสำเนียงมาตรฐาน.
  117. เสงี่ยมหงิม    [สะเหฺงี่ยม–] ก. สำรวมกิริยาไม่ค่อยพูดจา.
  118. สำราก    ก. พูดกระโชกโฮกฮาก เช่น อย่ามาสำรากกับฉันนะ.
  119. เหวี่ยงแห    ว. ทําคลุม ๆ เช่น พูดเหวี่ยงแห.
  120. หงิม, หงิม ๆ    ว. อาการที่แสดงท่าทางเฉย ๆ ไม่ค่อยพูด.
  121. หยาบคาย    ว. ไม่สุภาพ เช่น พูดจาหยาบคาย กิริยาหยาบคาย.
  122. หมาเห่าใบตองแห้ง    (สํา) น. คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่ง แต่ไม่กล้าจริง.
  123. เหน่อ    [เหฺน่อ] ว. มีเสียงพูดที่เพี้ยนไปจากสําเนียงมาตรฐาน.
  124. โอ้โลมปฏิโลม    (ปาก) ก. พูดเอาอกเอาใจ, พูดเกลี้ยกล่อม.
  125. อ่อย ๒, อ่อย ๆ    ว. ค่อย ๆ เบา ๆ, เช่น เสียงอ่อยพูดอ่อย ๆ.
  126. อภิปราย    [อะพิปฺราย] ก. พูดชี้แจงแสดงความคิดเห็น. (ส. อภิปฺราย).
  127. เอื้อน ๑    ก. พูด, เรียก, เรียกร้อง, กล่าวถ้อยคำ, อึ้น หรือ เอิ้น ก็ว่า.
  128. อื้น    ก. พูด, เรียก, เรียกร้อง, กล่าวถ้อยคำ, เอิ้น หรือ เอื้อน ก็ว่า.

พิพัฒน์

https://www.facebook.com/En4Th