Google WWW Blog e4thai www.e4thai.com

วิธีแปลศัพท์ของ Google Translate ที่ท่านอาจจะยังไม่เคยใช้

 สวัสดีครับ

                   มีคำที่เพื่อน ๆ ของผมหลายคนพูดกันจนเกร่อว่า ถ้าแปลอะไรไม่ออกก็บอกอาจารย์กู คือไม่ว่าจะแปลข้อความจากอังกฤษเป็นไทย หรือจากไทยเป็นอังกฤษ อาจารย์กูเกิ้ลช่วยแปลได้ทั้งนั้น และแม้ทุกคนจะรู้ว่า ผลการแปลของ Google Translate ไม่น่าไว้ใจ แต่อย่างน้อยก็ช่วยบอกเรื่องได้เลา ๆ

→→ https://translate.google.co.th/

โดยความเห็นส่วนตัว ผมเห็นว่าบริการของ Google Translate มีประโยชน์มากทีเดียว หากใช้ด้วยความระมัดระวัง หรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม เช่น

1.เราตรวจการแปลของ Google ก่อนนำไปใช้งาน ตรงไหนที่แปลถูกก็คงไว้, ตรงไหนที่แปลผิดหรือเพี้ยนหรือควรปรับปรุงก็แก้ไข ถ้าทำอย่างนี้ก็ช่วยทุ่นเวลาคิดหรือพิมพ์   ไม่ต้องทำเองทั้งหมด

2.คุณครูสามารถนำผลการแปลของ Google มาเป็นแบบฝึกหัดให้นักเรียนปรับปรุงแก้ไข   อาจจะเป็นงานเดี่ยวหรืองานทำด้วยกันทั้งห้องก็ได้ บางครั้ง Google แปลผิด ๆ ได้อย่างตลกมาก ถ้านำมาเป็นบทเรียนก็จะช่วยให้ห้องครื้นเครง

แต่วันนี้ผมมีอีกเรื่องหนึ่งของ Google Translate ที่เห็นว่ามีประโยชน์มากทีเดียวมานำเสนอ หลายท่านอาจจะทราบแล้ว แต่บางท่านอาจจะยังไม่ทราบ ก็คือว่า Google Translate นั้น ให้บริการ 2 อย่างพร้อมกันคือ

1.บริการแปล ทั้งประโยค ยาว ๆ หลายย่อหน้าก็แปลได้ บริการนี้ท่านคงทราบแล้ว

2.บริการแปลศัพท์เป็นคำ ๆ ซึ่งมีลักษณะที่เด่นอยู่ 2 – 3 อย่าง คือ

A – เราสามารถใส่คำศัพท์หรือข้อความลงไปได้เป็นร้อย ๆ คำในคราวเดียวกัน

B – การแปลศัพท์เป็นคำ ๆ ของ Google Translate นั้น จะแยกแยะชัดเจนว่าเป็นคำอะไร เช่น noun, verb, adjective และศัพท์ที่มีหลายคำแปล ก็จะเรียงจากคำแปลที่ popular คนรู้จักและใช้บ่อย ๆ ไว้เป็นลำดับแรก ๆ ส่วนคำแปลที่ใช้น้อยลงไปก็เรียงในลำดับหลัง

คราวนี้มาถึงขั้นตอนการใช้งานที่ผมขอแนะนำ

ตัวอย่างที่ 1:

ให้ Google Translate ช่วยแปลศัพท์จากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post

ให้ท่านไปที่ลิงก์นี้ซึ่งเป็น Bangkok Post Lite 

→→http://www.bangkokpost.com/lite

และ copy ข้อความมาใส่ในหน้า Google Translate

ที่ต้องบอกให้ Copy จากหน้า lite นี้ก็เพราะว่า ถ้าเป็นหน้าปกติ

คือข่าวจากหน้านี้ http://www.bangkokpost.com/newsBangkok Post เขายอมให้เรา copy แค่ข้อความสั้น ๆ เท่านั้น

                 เมื่อ paste ข้อความภาษาอังกฤษ ลงไปที่ด้านซ้ายของหน้า Google Translate แล้ว, ก็คลิกให้แปลเป็นไทย

เอาละครับ ถึงตอนนี้อย่างที่ผมบอกว่า เราจะไม่ใช้บริการของ Google Translate ในการแปลข้อความ, แต่เราจะพึ่งบริการการแปลศัพท์เป็นคำ ๆ คราวละหลาย ๆ คำ หรือให้แปลคำใดก็ได้ในข่าวทั้งชิ้น

สมมุติว่า ท่านได้ข่าวนี้ คือ รพ.ศิริราช ประกาศว่าผลิตวัคซีนฉีดป้องกันโรคอีโบล่าได้ ท่านก็ Copy ข่าวนี้ลงไปในช่อง ซ้ายมือของหน้า Google Translate แล้วก็คลิกให้เค้าแปลเป็นไทย

→→https://translate.google.co.th/

       In a brief announcement of a Thursday press conference, the Faculty of Medicine Siriraj Hospital at Mahidol University said doctors would detail what it described as "the successful production of an antibody treatment against Ebola for the first time in Thailand."

       Volunteer Ruth Atkins has blood taken before receiving an injection of the Ebola vaccine at the Oxford Vaccine Group Centre for Clinical Vaccinology and Tropical Medicine in Oxford, southern England Sept 17. Siriraj Hospital plans to announce it has developed a breakthrough antibody treatment for the disease at a Thursday press conference. (Reuters photo)

     Thai media broke the news in bombastic fashion, with one early report from a government-run website proclaiming it a "cure" for the disease that has killed more than 3,000 people in West Africa this year. Other reports claimed it was a preventative vaccine.

     It also could mean the hospital's development of antibodies will lead to a treatment applied after infection to stimulate the body's natural immune system to fight off infection.

     With hospital officials remaining mum, no one yet knows exactly what Siriraj actually has. Dr Pattarachai Kiratisin, head of the faculty's microbiology department and one of four speakers set to appear Thursday, declined to elaborate on the findings and asked the press to wait until the conference.

เอาละครับ ตรงนี้มาถึงจุดสำคัญที่ผมจะขอบอกแล้ว คือว่า

1.ให้ท่านดับเบิ้ลคลิกศัพท์คำที่ท่านต้องการรู้คำแปล, เมื่อดับเบิ้ลคลิกแล้ว คำแปลของศัพท์คำที่ท่านคลิก จะไปปรากฏที่คอลัมน์ขวามือด้านล่าง, และถ้าคำแปลมีเยอะ อาจจะมีคำว่า .... more translations ที่บรรทัดล่างสุด, ก็ให้ท่านคลิกเพื่อดูเพิ่มเติม พูดง่าย ๆ ก็คือ ท่านจะดูคำแปลของศัพท์คำไหนก็ดับเบิ้ลคลิกศัพท์ตัวนั้น คำแปลก็จะโชว์ให้เห็นทุกคำที่ท่านคลิก

2.พอถึงตรงนี้มี trick อย่างหนึ่งที่ต้องบอกให้ทราบ คือ คำบางคำที่ลงท้ายด้วย -s, -es, -d, -ed, -ing, -ly อะไรทำนองนี้แหละครับ ถ้าเราดับเบิ้ลคลิก บางที Google Translate มันกลับไม่ยอมโชว์คำแปล หรือโชว์แต่เพียงสั้น ๆ, ขอแนะว่า ถ้าเจอศัพท์ลักษณะนี้ ขอให้ท่านใช้วิธีไฮไลท์เฉพาะตัวอักษรที่เป็น Basic form คือไม่มี -s, -es, -d, -ed, -ing, -ly ต่อท้าย, Google Translate ก็จะโชว์คำแปลเต็ม ๆ ให้ท่านเห็น

3.เมื่อทำตามข้างต้นและเห็นคำแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ขอให้ท่านเหลือบมาดูที่คอลัมน์ซ้ายมือด้านล่าง ท่านจะเห็นความหมายเป็นภาษาอังกฤษของศัพท์คำนั้น ที่ Google Translate ให้ไว้ด้วย, พูดง่าย ๆ ก็คือ คลิกครั้งเดียว ได้เห็นทั้งคำแปลเป็นไทยที่อยู่ด้านขวา และความหมายเป็นภาษาอังกฤษที่อยู่ด้านซ้าย (มีไอคอนรูปลำโพงให้คลิกฟังเสียงอ่านศัพท์คำนั้นด้วยครับ)

ตามภาพข้างล่างนี้ครับ

Google Translate

4.ด้วยวิธีตามข้อ 1., 2., 3. ที่ผมชี้แจงมานี้ ท่านยังสามารถ paste ข่าวภาษาไทยลงไปทั้งข่าว, คลิกให้มันแปล, และก็คลิกหรือไฮไลท์ให้มันแปลศัพท์ไทยเป็นภาษาอังกฤษเฉพาะคำที่เราสนใจก็ได้  เช่น

ตัวอย่างที่ 2:

'ศิริราช'เจ๋งพบยารักษา'อีโบลา'แล้ว | เดลินิวส์

„'ศิริราช'เจ๋งพบยารักษา'อีโบลา'แล้ว สำเร็จเป็นรายแรกของโลก "หมอศิริราช" สุดเจ๋ง ค้นพบยาต้านเชื้อไวรัสอีโบลา เตรียมเปิดตัวสู่สายตาชาวโลก 2 ต.ค. เชื่อเป็นความหวังให้ผู้ป่วย หลังเชื้อร้ายสร้างความหวาดผวาไปทั่วทุก มุมโลกและยังไร้ตัวยาต่อต้าน วันจันทร์ที่ 29 กันยายน 2557 เวลา 14:21 น. เมื่อวันที่ 29 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ได้ศึกษาวิจัยและผลิตแอนติบอดี รักษาโรคโรคไข้เลือดออกอีโบลาได้เป็นผลสำเร็จ และเป็นแห่งแรกของโลกแล้ว โดยจะมีการแถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการในหัวข้อ "ครั้งแรกของไทย ศิริราชผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาสำเร็จ" ในวันพฤหัสบดีที่ 2 ต.ค. 2557 เวลา 10.00 น. ที่ห้อง A201 อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 2 รพ.ศิริราช โดยมี ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นประธานการแถลงข่าวร่วมกับ รศ.ดร.นพ.ภัทรชัย กีรติสิน หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา ศ.เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา ภาควิชาปรสิตวิทยา และ ศ.ดร.พญ.รวงผึ้ง สุทเธนทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยพร้อมทีมแพทย์และผู้เกี่ยวข้องร่วมในการแถลงข่าว“

แต่ต้องขอเรียนว่า ถ้าไฮไลท์แล้วมันไม่โชว์คำแปล แสดงว่าศัพท์ภาษาไทยตัวนั้นไม่มีอยู่ใน database ของเขา, เราอาจจะพลิกแพลงโดยการไฮไลท์คำให้สั้นลง มันก็อาจจะโชว์ก็ได้

เช่น เมื่อไฮไลท์คำว่า หัวหน้าภาควิชา มันไม่โชว์คำแปล แต่พอไฮไลท์ทีละคำ มันก็โชว์ เช่น

หัวหน้า มันให้คำแปลว่า chief, head, leader, boss,

ภาค มันให้คำแปลว่า sector, department

ตามภาพข้างล่างนี้ครับ

head

ที่เล่ามายืดยาวทั้งหมดนี้ ผมอยากให้ท่านลองไปทำดูครับ วิธีอย่างนี้อาจจะดูแล้วไม่ค่อยเป็นวิชาการนัก   แต่ผมเห็นว่า การเรียนภาษาอังกฤษทุกวันนี้มันมีนั่น – นี่ – โน่น ให้เราเลือกหยิบฉวยมาใช้ได้ ซึ่งอาจจะเป็นการเรียนภาษาอังกฤษที่ได้ผลเร็วและสนุก ผมเดาว่าหลายคนไม่ชอบการเรียนที่ได้ผลเร็วแต่เครียด หรือ การเรียนที่สนุกแต่ได้ผลช้า

วิธีที่นำมาเล่าในวันนี้ ถ้าท่านฟังแล้วรู้สึกว่าไม่ค่อยชอบและเมื่อท่านใช้แล้วก็คงไม่ได้ผล ก็ไม่เป็นไรครับ แต่ผมอยากชวนให้ท่านลองเล่นจริง ๆ สัก 1 ครั้ง ท่านอาจจะเปลี่ยนใจกลายเป็นชอบ หรือถ้ายังหนักแน่นไม่เปลี่ยนใจ ก็ช่วยแนะนำคนอื่นแล้วกันครับ ขอบคุณมากครับ

พิพัฒน์

https://www.facebook.com/En4Th

Google
Search WWW Search Blog e4thai Search www.e4thai.com