Google WWW Blog e4thai www.e4thai.com

แนะนำโปรแกรมใหม่ของ อ. ยุทธนา: →error identification (1)

 error

สวัสดีครับ

       วันนี้ผมมีโปรแกรมใหม่ของ อ. ยุทธนา มาแนะนำ คือ โปรแกรม  error identification (1)

ที่ลิงก์นี้ครับ

http://freewareacpyu.blogspot.com/2015/07/error-identification-1.html

        โปรแกรมมีแบบทดสอบทั้งสิ้น 120 ข้อ   การทำโจทย์แต่ละข้อ มี 2 step คือ 1. คลิกจุดที่ผิดในประโยค และ 2.พิมพ์แก้ให้ถูก ถ้าพิมพ์แก้ 3 ครั้งแล้วยังไม่ถูก โปรแกรมจะเฉลยว่าที่ถูกต้องคืออะไร

       โปรแกรมนี้อาจารย์ยุทธนา นำมาจากลิงก์นี้

http://www.englishdaily626.com/error_identification.php?148

       ผมลองเข้าไปทำดูแล้วก็เห็นว่า ส่วนใหญ่วัดความรู้เรื่องหลักแกรมมาร์ทั่ว ๆ ไป  และ เรื่อง Collocation 

       โปรแกรมนี้เล็กมาก  มีแค่ 12 ชุด ๆ ละ 10 ข้อ รวมเป็น 120 ข้อเท่านั้นเอง  

       ผมขอบอกว่า โปรแกรมนี้ของ อ. ยุทธนามีประโยชน์มาก เพราะว่ามันช่วยให้ท่านเข้าไปทำความคุ้นเคยกับข้อสอบประเภท error identification ซึ่งมีประโยชน์ ถ้าผมพูดแค่นี้ท่านจะเชื่อผมไหมครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่ไม่ค่อยกินเส้นกับแกรมมาร์

       ก็คือว่า ท่านอาจจะรู้สึกว่า ข้อสอบแบบจับจุดผิดในประโยค หรือ error identification นี้ยาก แต่ท่านเคยสังเกตไหมครับ เขามักจะไม่ได้นำทุกเรื่องของแกรมมาร์มาทำข้อสอบประเภทนี้นะครับ คือประโยคที่เป็นข้อสอบนั้น ส่วนใหญ่เป็นประโยคที่เราใช้ในการสื่อสารทั่ว ๆ ไป ทั้งในการพูดและการเขียน มองในแง่หนึ่ง เราอาจจะบอกว่า นี่คือการวัดความรู้เรื่องแกรมมาร์  แต่ถ้ามองอีกแง่หนึ่งซึ่งตรงกว่า มันคือการวัดความสามารถในการสื่อสารให้ถูกต้อง  โดยใช้ภาษาที่มาตรฐาน  ไม่ใช่ภาษาตลาด และก็ไม่ควรเป็นภาษาที่ผิดแกรมมาร์ด้วย เพราะฉะนั้น ท่านใดที่คลิกเข้าไปทำข้อสอบประเภท error identification บ่อย ๆ ก็จะถูกกล่อมเกลาให้ใช้ภาษาอย่างถูกต้องโดยไม่รู้ตัว

      ในเว็บ e4thai.com ก็มีเรื่องนี้ให้ท่านศึกษาอยู่พอสมควร คลิก

       แต่ในแง่หนึ่ง ผมก็รู้สึกว่าตัวเองเข้าใจคนที่ไม่ชอบข้อสอบประเภทนี้  ท่านลองดูโจทย์ข้างล่างนี้ที่ผมนำมาจากโปรแกรมนี้ดูซีครับ ว่ากลุ่มคำในข้อ A, B, C หรือ D ที่ผิด

(A) While mother (B) is preparing dinner, I will do my homework (C) for the examination (D) may be held any time next week.

       ผมดูอยู่ตั้งนานยังมองไม่ออกเลยว่า มันผิดตรงไหน

       และโปรแกรมก็เฉลยว่า กลุ่มคำในข้อ D ผิด  เพราะที่ถูกต้องจะต้องแก้เป็น  which may be held any time next week

       อ๊ะ พอเขาเฉลยอย่างนี้ ผมก็พอมองเห็นเค้าแล้ว

       ที่ผมบอกว่าไม่ผิด  เพราะผมตีความว่า ตัว for ในข้อ C เป็น conjunction หรือคำสันธาน ที่แปลว่า “เพราะว่า”  แต่พอเขาเฉลยอย่างนี้ ก็แสดงว่า โจทย์ข้อนี้ตีว่า for เป็นคำ preposition หรือบุพบท ที่แปลว่า “สำหรับ” เพราะฉะนั้น  may be held any time next week จึงต้องแก้ไขโดยเติม which ลงไปข้างหน้า เป็น which may be held any time next week

       แล้วมันน่าปวดหัวไหมล่ะครับ ข้อสอบอย่างนี้ มันจะอะไรกันนักหนาเชียว

       แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผมก็อยากให้ท่านผู้อ่านที่หวังพัฒนาการใช้ภาษาของตัวเองให้ถูกต้อง  แม้จะไม่ได้ไปสอบ TOEIC หรือ TOEFL  ได้ใช้ประโยชน์จากข้อสอบประเภท  error identification  ประโยชน์มันอาจจะเห็นยาก เพราะอาจจะถูกความยากบดบังจนมิด แต่ผมขอรับรองว่าข้อสอบประเภท error identification มีประโยชน์แน่ ๆ และโปรแกรมชุดใหม่ของ อาจารย์ยุทธนาที่เพิ่งทำออกมานี้  ก็จะช่วยแหวกทางให้เรื่องนี้เดินเข้าไปหาได้ไม่ยากนัก

พิพัฒน์

https://www.facebook.com/En4Th 

Google
Search WWW Search Blog e4thai Search www.e4thai.com