Google WWW Blog e4thai www.e4thai.com

ศัพท์ ป.6, ม.3, ม.6 – ศัพท์พื้นฐานที่ควรรู้ และวิธีเรียนรู้ที่ถูกต้อง

 vocabulary 222

สวัสดีครับ

       ศัพท์พื้นฐานระดับ ป.6, ม.3, ม.6 นี่แหละครับ ถ้าเราแม่นก็จะเป็นพื้นฐานให้ทักษะภาษาอังกฤษของเราก้าวหน้าได้เยอะทีเดียว

       จากงานวิจัยของ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม ซึ่งท่านได้รวบรวมคำศัพท์จากตำราเรียนภาษาอังกฤษระดับชั้น ป.6, ม.3 และ ม.6 รวม 45 เล่ม  ออกมาเป็นรายการคำศัพท์ ดังนี้

ระดับ ป.6 จำนวน 2,026 คำ

ระดับ ม.3 จำนวน 3,045 คำ

→และระดับ ม.6 จำนวน 3,199 คำ

       ถ้าเราแม่นและแน่นในคำศัพท์พื้นฐานเหล่านี้ อนาคตในการใช้ภาษาอังกฤษของเราก็จะไปได้สวย

       แต่ท่านอย่าได้เข้าใจผิดว่าคำว่าแม่นและแน่นคือจำคำแปลศัพท์ได้เยอะ ๆ หรือจำได้หมดทุกคำ หลายคนที่มี “มิจฉาทิฐิ” เกี่ยวกับคำศัพท์เช่นนี้ก็จะตั้งหน้าตั้งตาท่องอัดคำศัพท์เข้าไปในสมองให้ได้เยอะ ๆ และวาดความหวังว่า ถ้ารู้ศัพท์เยอะเป็นทุนตุนไว้ก่อน  เรื่องอื่น ๆ ก็จะง่าย และไม่ต้องไปใส่ใจมากนักก็ได้

       ผลเสียที่เห็นได้ง่าย ๆ ของความเห็นผิดและการฝึกผิด ๆ เช่นนี้ก็คือ

(1)การท่องอัดเข้าไปในสมองเป็นการจำที่ด้อยประสิทธิภาพ เพราะลอนสมองส่วนที่ใช้จำมันรับได้จำกัด  - นี่หมายถึงการเอาแต่ท่องอย่างเดียวโดยไม่ฝึกอย่างอื่นเลย

(2)แม้จำคำแปลได้ก็อาจจะติดขัดถ้าไม่สามารถใช้ศัพท์นั้นแต่งประโยคตอนที่จะพูดหรือเขียน ส่วนในการอ่าน แม้ว่ารู้คำแปลศัพท์เป็นคำ ๆ แต่พอไปเจอศัพท์นั้นในประโยคที่ซับซ้อนสักหน่อย ก็อาจจะตีความไม่ออกว่าทั้งประโยคมันหมายความว่ายังไง

       ท่านผู้อ่านครับ ผมเชื่อว่าในสมองของคนเรามีหลายลอนที่ใช้ทำงานเกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น ลอนที่ 1 ใช้ท่องจำศัพท์ใหม่, ลอนที่ 2 ใช้ทบทวนศัพท์เก่า, ลอนที่ 3 ใช้เดาศัพท์ที่ไม่รู้จักหรือไม่แน่ใจ, ลอนที่ 4 ใช้ตีความ, ลอนที่ 5 ใช้ประมวลความเข้าใจที่ได้อ่านและฟัง, ลอนที่ 6 ใช้ตัดสินใจเลือกศัพท์ที่จำได้อกมาใช้พูดและเขียน  และน่าจะมีลอนที่ 7 ลอนที่ 8 ....ที่ทำหน้าที่อื่น ๆ อีกหลายอย่างเกี่ยวกับคำศัพท์

       แต่เรื่องที่น่าเศร้าใจสุด ๆ ก็คือว่า เด็กไทย-คนไทย จำนวนไม่น้อย เชื่อฝังใจว่า ขอเพียงใช้สมองลอนที่ 1 ทำงานโดยการท่องจำไปก่อน ส่วนสมองลอนอื่น ๆ ยังไม่ต้องให้มันทำงานก็ได้ พอคิดเช่นนี้ก็ละเลยการฝึกอ่าน การฝึกฟัง เพื่อฝึกเดา ฝึกตีความ ฝึกสรุปใจความ ฯลฯ   ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ ทำให้การพูด-การเขียนแย่ไปด้วย เพราะว่าถ้อยคำที่จะพูดผ่านปากและเขียนผ่านมือนั้น ต้นทางมันอยู่ที่สมอง ในเมื่อสมองมันมีเป็นสิบ ๆ ลอน แต่เราใช้ให้มันทำงานแค่ลอนเดียว คือท่อง... ท่อง... และท่อง .. โดยไม่ฝึกให้มันทำอย่างอื่น  พอถึงเวลาที่ต้องทำงาน มันก็ย่อมทำไม่ไม่ได้เป็นธรรมดา

       เอาละครับ ผมขอย้อนกลับมาเรื่องรายการคำศัพท์ที่ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม  ได้รวบรวมไว้ คือผมมีความตั้งใจว่า นอกจากนำคำศัพท์ + คำแปล เหล่านั้นมาให้ท่านศึกษาแล้ว ผมยังขอแนะนำให้ท่านได้ฝึกทำความคุ้นเคยกับคำศัพท์ให้มากยิ่งขึ้นโดย

  • การอ่านคำจำกัดความหรือ definition เป็นภาษาอังกฤษ, 
  • ศึกษาประโยคตัวอย่าง ซึ่งช่วยแสดงการใช้คำศัพท์นั้น ๆ ในการพูดและเขียน  และ
  • คลิกฟังเสียงอ่านคำศัพท์ให้คุ้นหู  และฝึกออกเสียงตามให้คุ้นปาก

จากดิก 2 เว็บนี้

Password English - Thai Dictionary (Cambridge)

→ Cambridge Learner’s Dictionary

       วิธีใช้ก็คือ เมื่อเข้าไปในหน้าคำศัพท์ข้างล่างนี้แล้ว ให้ท่านดับเบิ้ลคลิกคำศัพท์ที่ต้องการจะศึกษา  พยายามเรียนรู้ครั้งละคำสองคำไปเรื่อย ๆ จนรู้จักและเข้าใจทุกคำ  ท่านไม่ต้องรีบร้อนในการเรียนรู้ แต่ให้เรียนทุกวันด้วยความตั้งใจและสมาธิ

เชิญครับ


ศัพท์ ป.6

→ รายการคำศัพท์ อังกฤษ – ไทย 2,026  คำ

→ ศึกษาคำศัพท์จาก Password English – Thai Dictionary


ศัพท์ ม.3

→ รายการคำศัพท์ อังกฤษ – ไทย 3,045 คำ

→ ศึกษาคำศัพท์จาก Password English – Thai Dictionary


ศัพท์ ม.6

→  รายการคำศัพท์ อังกฤษ – ไทย 3,199 คำ

ศึกษาคำศัพท์จาก Password English – Thai Dictionary


       ผมเชื่อว่า แม้จะต้องใช้เวลา, ความพยายาม, และความคิดมากขึ้นในการฝึก แต่นี่เป็นวิธีที่จะช่วยให้ท่านรู้จักศัพท์ได้ดีขึ้น และสามารถนำศัพท์ไปใช้ในการพูดและเขียนได้

พิพัฒน์

https://www.facebook.com/En4Th
https://www.facebook.com/EnglishforThai

Google
Search WWW Search Blog e4thai Search www.e4thai.com