เครื่องมือทดสอบความอ่านง่าย ของเนื้อหาภาษาอังกฤษ - ขอฝากคนขายของผ่านเว็บ & เว็บหน่วยราชการไทย

Readability-Test
สวัสดีครับ
       ทุกท่านที่ฝึกภาษาอังกฤษคงเห็นกันมาบ้างแล้วว่า หลายเว็บนำเนื้อหามาให้เราอ่าน โดยแบ่งออกเป็น Level หรือ Grade ถ้าตัวเลขน้อยก็อ่านง่าย ตัวเลขเยอะก็อ่านยาก ที่ยากก็เพราะว่าใช้ศัพท์ยากและโครงสร้างประโยคศัพท์ซ้อน ในเรื่องนี้ผมมักจะแนะนำว่า ให้เริ่มฝึกอ่านกับเรื่องที่เหมาะสมกับเรา อย่าเลือกเรื่องที่ง่ายหรือยากเกินไป และพอเก่งก็ค่อย ๆ ขยับขึ้น ยกตัวอย่าง ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ

       วันนี้ผมมีของใหม่อีก 1 อย่างมาแนะนำ
       คือฝรั่งนี่นะครับ เขาประดิษฐ์เครื่องมือขึ้นมาวัดความยากง่ายในการอ่านข้อความภาษาอังกฤษ ที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับศัพท์ยากหรือประโยคซับซ้อน แต่ใช้อย่างอื่น เช่น

  • จำนวนคำใน 1 ประโยค - ก็คือ ประโยคสั้นหรือยาว  ประโยคสั้นก็ต้องอ่านง่ายกว่าประโยคยาวแน่ ๆ อยู่แล้ว
  • จำนวนพยางค์ใน 1 คำ  - คือ คำที่มีหลายพยางค์ น่าจะอ่านยากกว่าคำที่มีแค่ 1 - 2 พยางค์
  • เปอร์เซนต์ของคำหลายพยางค์ในข้อความนั้น - คือ คำยาว ๆ ยิ่งมีเยอะ ยิ่งอ่านยาก

       แล้วเขาก็เอาตัวเลขพวกนี้ไปเข้าสูตรที่ค่อนข้างซับซ้อน ได้ผลเป็นตัวเลขเมื่อเทียบกับสเกลแล้วชี้ว่า ข้อความนี้อ่านง่าย-ยากแค่ไหน, หรือต้องผ่านการศึกษา Grade เท่าไหร่(ของฝรั่ง)จึงจะอ่านเข้าใจได้ไม่ลำบาก สูตรคำนวณพวกนี้มีหลายสูตรแต่ก็ไม่ต่างกันนัก
       และมีการนำสูตรพวกนี้ไปเป็นเครื่องมือมาตรฐานวัดความง่ายของเนื้อหา เช่น บางรัฐในสหรัฐฯ ระบุว่าเนื้อหาของกรมธรรม์ประกันชีวิตต้องอ่านง่ายถึงระดับนั้น ๆ, หรือคู่มือการใช้เครื่องมือของกองทัพต้องเขียนให้อ่านง่ายขนาดนั้น ๆ, บางบริษัทใช้สูตรพวกนี้วัดว่า ข้อความที่ใช้โฆษณาง่ายเพียงพอให้คนซื้อส่วนใหญ่ฟังเข้าใจได้หรือเปล่า, staff ของนักการเมืองนำ speech ของผู้แข่งขันฝ่ายตนไปเปรียบเทียบกับ speech ของฝ่ายตรงกันข้ามเพื่อดูว่าของใครฟังง่ายกว่ากัน, นักประพันธ์หรือคนเขียนคอลัมน์วัดข้อความก่อนตีพิมพ์ว่าเขียนเข้าใจยากเกินไปหรือเปล่า, หรือในวงการครูที่สอนภาษาอังกฤษ ก็วัดว่าตำราหรือแบบฝึกหัดอยู่ในระดับยากง่ายตามที่ต้องการหรือเปล่า
       ผมไม่แน่ใจว่า เราคนไทยจะใช้ประโยชน์จากเครื่องมือพวกนี้ได้มากน้อยแค่ไหน ท่านลองดูที่ลิงก์ข้างล่างนี้ก็ได้ครับ มีหลายเว็บที่นำสูตรพวกนี้มาทำเป็นเครื่องมือวัดสำเร็จรูป เราเพียง copy-paste ข้อความลงไป เพื่อให้เว็บมันแสดงผล  

       ตัวเลขที่เว็บแสดงมักจะมี 2 อย่าง คือ 1. คะแนนความอ่านง่าย ยิ่งมีตัวเลข  reading ease หรือ score มากเท่าไหร่ก็ยิ่งอ่านง่ายมากเท่านั้น  เช่น

 และ 2. Grade คือ ภาษาอังกฤษชิ้นนี้ ต้องจบการศึกษาอย่างน้อย Grade หรือชั้นอะไร(ของฝรั่ง)จึงจะอ่านได้ไม่ลำบาก เช่น

       ที่ไฮไลท์ข้างล่างนี้เป็นข้อความเกี่ยวกับดอยอินทนนท์ ท่านลอง copy - paste ลงใน 6 เว็บข้างล่างนี้ก็ได้ครับ
       ข้อความนี้มาจากเว็บเอกชนของ thainationalparks.com 

       หลังจากที่ test ด้วยเครื่องมือพวกนี้ ก็เห็นได้ชัดว่า เป็นการเขียนที่อ่านค่อนข้างยาก 

       ในที่นี้ ผมจึงขอเชิญชวนให้หน่วยราชการไทยที่เผยแพร่หรือประชาสัมพันธ์ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษผ่านเว็บ ได้โปรดกรุณาคำนึงถึงความง่ายของภาษาอังกฤษที่ท่านเขียนลงเว็บ เพราะกลุ่มเป้าหมายของท่านใช่ว่าจะมี reading skill สูงทุกคน

       ใช่ครับ การเขียนให้อ่านง่ายนั้นเขียนยาก แต่ก็น่าพยายาม เพราะมันคุ้มค่ากับที่พยายาม
About Doi Inthanon
          Also known as "The Roof of Thailand", Doi Inthanon National Park covers an area of 482 km² in Chiang Mai province north of Thailand. The park is part of the Himalayan mountain range, elevation ranges between 800 and 2565 meters with the highest peak at Doi Inthanon which is the highest mountain in Thailand. Due to the high altitude, the park has high humidity and cold weather all year round. The average daily temperatures are normally around 10-12 °C.
          The main attractions of the park are the summit of Doi Inthanon for its spectacular views of early morning, several waterfalls, few trails and the two chedis (stupas) dedicated to the king and queens 60th birthday anniversaries. Most of the waterfalls within the park have relatively good flow of water all year round but the best season for water flow is during the rainy season from May to November. One of seasonal attractions of the park is the blossoms of Siamese sakura flowers covering trees in pink during late January and Februari. The park is also one of top destination in the country for birders.
          Doi Inthanon is named in honour of the king Inthawichayanon, one of the last kings of Chiang Mai, who was concerned about the forests in the north of Thailand and wanted to preserve it. After his death his remains was placed in the park as he ordered and the forest was renamed to Doi Inthanon.
          The flora consists of sphagnum bog, moist and dense evergreen cloud forest, dry evergreen, pine, mixed deciduous teak and dipterocarp forests.
          The Center for Wildlife Research at Mahidol University has recorded total of 362 bird species in the park which makes it in numbers the second highest in Thailand after Kaeng Krachan National Park. Over 190 of the bird species are listed as common to abundant. Some common birds seen in the national park are green-tailed sunbird, ashy-throated warbler, green/purple cochoa, sikkim treecreeper, maroon oriole, bar-throated minla, green-tailed sunbird, rufous-winged fulvetta, chestnut-crowned laughingthrushand speckled/ashy wood pigeons. The big bird migration to Thailand happens March to May with some birds still breeding until June/July makes it a good time to visit the park for birds.
          Due to hunting and habitat change bigger mammals such as elephants, tigers, gaurs has been extirpated from the park. Some mammals such as wild boars, gibbons, deer and serows still inhabits the park. There are currently around 65 mammals in the national park, half of these bat species.
          The main entrance point to the national park is via a checkpoint at km 8 of the rural road 1009 accessible from the highway 108 southwest from Chiang Mai. The visitor center is less than 1 km further in to the park from this checkpoint and the headquarters another 22 km in at km 30.8. The main campsite is around HQ area where tents with accessories are available for rent. Opening times are 5:30am to 6:30pm.
          The entrance fee is 300 THB for foreigners (children 150 THB) and 50 THB for local tourists (children 20 THB).

  1. https://www.perrymarshall.com/grade/ 
  2. http://www.webpagefx.com/tools/read-able/  เข้าไปแล้ว คลิก TEST BY DIRECT INPUT 
  3. http://www.thewriter.com/what-we-think/readability-checker/ 
  4. http://www.readabilityformulas.com/free-readability-formula-tests.php ให้ติ๊ก / หลังประโยค Are you human? ด้วย
  5. https://www.online-utility.org/english/readability_test_and_improve.jsp 
  6. https://readability-score.com/text/

       ผมเจออยู่ 1 เว็บสอนภาษาอังกฤษที่เขานำตัวเลข Flesch-Kincaid Grade Level มาระบุทุก Story ในเว็บซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจทีเดียวครับ เพราะท่านจะได้กะถูกว่า จะฝึกอ่านเรื่องที่มีความง่าย-ยากระดับไหน โดยทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับความสั้น-ยาวของ story นะครับ
▬► http://eslyes.com/ 
       สำหรับคุณครู หรือท่านที่ทำธุรกิจขายของผ่านเว็บ และต้องเขียนข้อมูลหรือคำโฆษณาเป็นภาษาอังกฤษ ลองใช้บริการของเว็บพวกนี้ดูก็ดีครับ เขาอาจจะไม่บอกเราโดยละเอียดว่าจะต้องปรับปรุงแก้ไขยังไง แต่อย่างน้อยก็น่าจะช่วยให้เราเห็นอะไรบ้าง
พิพัฒน์
https://www.facebook.com/En4Th