ศัพท์ 1000 คำที่กระทรวงศึกษาฯ นิวซีแลนด์ใช้สอนนักเรียนกะเหรี่ยง
สวัสดีครับ
ถ้าเราเข้าไปที่กูเกิ้ล และพิมพ์ ศัพท์พื้นฐาน อังกฤษ - ไทย 1000 คำ กูเกิ้ลก็จะหารายการตำศัพท์พวกนี้จากเว็บไทยมาให้่เราดูเยอะแยะ → คลิกดู โดยศัพท์พวกนี้ท่านจะใช้ท่อง, ทบทวน, หรือเช็กคำศัพท์ที่ตัวเองรู้/ไม่รู้ ก็ได้
แต่ผมอยากจะชักชวนให้ท่านก้าวให้ไกลกว่าเดิมอีก 1 ก้าว โดยการหาค้นหาคำศัพท์ 1000 คำพวกนี้แหละ แต่แทนที่จะอ่านคำแปลเป็นภาษาไทย ก็ฝึกอ่านความหมาย (หรือ definition) เป็นภาษาอังกฤษ แถมบางทีก็มีประโยคตัวอย่างให้ดูด้วย การฝึกอ่านอย่างนี้ต้องออกแรงมากกว่าเดิม แต่ก็จะเก่งอังกฤษมากกว่าเดิมเช่นกัน เช่น พิมพ์คำว่า basic 1000 english words with meanings and examples → คลิกดู หรือจะดู YouTube ก็ได้ครับ → คลิก
และวันนี้ผมมีอันนี้มาฝาก
ศัพท์ 1,000 คำที่กระทรวงศึกษาฯ นิวซีแลนด์ใช้สอนนักเรียนกะเหรี่ยง → จากลิงก์นี้
เป็นคำศัพท์พื้นฐานง่าย ๆ ที่เจอบ่อย-ใช้บ่อย, ให้ความหมายและประโยคตัวอย่างสั้น ๆ ง่าย ๆ แถมมี exercise ง่าย ๆ ให้ทำ และมีเฉลยให้ตรวจ
ความเป็นมาของคำศัพท์ชุดนี้ก็คือว่า สถาบันสอนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยวิคทอเรีย นิวซีแลนด์ เขาจัดโปรแกรมสอนภาษาให้คนกะเหรี่ยงกลุ่มนี้ ซึ่งบางคนก็พูดกะเหรี่ยง พูดพม่า หรือบางคนอาจจะพูดไทยได้ด้วยซ้ำ เขาจึงต้องหาคำพื้นฐานง่าย ๆ พร้อมนำประโยคง่าย ๆ มาเป็นตัวอย่างใช้สอน ผมดูเอกสารแล้วก็เห็นว่า มันใช้ได้สำหรับคนไทยที่ต้องการพัฒนาคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
มีทั้งหมด 2 ชุด ศัพท์เหมือนกัน
ชุดที่ 1
- คำศัพท์ 1000 คำ พร้อมประโยคตัวอย่าง (ไม่บอกความหมาย) → คลิก
- นำคำศัพท์มาทำเป็นแบบฝึกหัดให้เติมคำในประโยค ทำเป็นชุด ๆ ละ 10 คำ เรียง A → Z
→ คลิกดูแบบฝึกหัด
→ คลิกดูเฉลย
ชุดที่ 2
- แสดงคำศัพท์ที่จะใช้เติมในประโยคตัวอย่าง ทำเป็นชุด ๆ ละ 10 คำ เรียง A → Z → คลิกดู
- ทำ Test ชุดละ 10 คำ เรียง A → Z → คลิกดู
ท่านผู้อ่านครับ เอกสารที่นำมาฝากนี้ เขาทำแบบเรียบ ๆ ไม่มีสีสัน ศึกษาแล้วก็ไม่น่าตื่นเต้น แต่มันมีประโยชน์ครับ เพราะมันจะช่วยให้เรา "เข้าใจ" ภาษาอังกฤษ ซึ่งก็คือ ภาษาอังกฤษจะเข้าไปในใจเรา แต่ถ้าเราเอาแต่อ่านศัพท์ภาษาอังกฤษ + คำแปลไทย เราก็จะ "เข้าใจ" เหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน
พูดอีกทีง่าย ๆ ก็คือ ระหว่าง ❶ การอ่านศัพท์ภาษาอังกฤษ บวกคำอธิบายภาษาไทย - และเข้าใจ กับ ❷ การอ่านศัพท์ภาษาอังกฤษ บวกคำอธิบายเป็นภาษาอังกฤษ - และเข้าใจ แม้จะ "เข้าใจ" เหมือนกัน แต่ "เข้าไปในใจ" ลึกไม่เท่ากันครับ
พิพัฒน์
https://www.facebook.com/En4Th