Google WWW Blog e4thai www.e4thai.com

การพูดให้นิ่มนวล เมื่อจะขัดแย้ง, ปฏิเสธ,ไม่เห็นด้วย,ขอร้อง ฯลฯ

diplomatic-language

สวัสดีครับ

       ผมคิดว่า ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, หรือภาษาอื่นใดในโลก ทุกภาษาก็จะมีถ้อยคำที่ใช้พูดเลี่ยง ๆ, อ้อม ๆ หรือทำให้คนฟังรู้สึกดีขึ้นเมื่อเราจะพูดสิ่งที่เป็นเรื่องขัดแย้ง, ปฏิเสธ,ไม่เห็นด้วย,ขอร้อง ฯลฯ ซึ่งน่าจะให้ผลดีกว่าการพูดอย่างใจออกไปตรง ๆ ดื้อ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพูดกับคนอื่นที่เราไม่สนิท หรือคนที่เราจะติดต่อธุรกิจด้วย

ผมค้นเจอลิงค์นี้

http://www.macmillandictionaryblog.com/five-rules-of-thumb-for-polite-and-diplomatic-language

ซึ่งเขาสรุปเรื่องทำนองนี้ไว้ 5 ข้อข้างล่างนี้

ขอให้ท่านดูภาษาอังกฤษเป็นหลักนะครับ  โดยคำแปลที่ผมให้ไว้ท่านไม่ต้องไปสนใจมันมากนักก็ได้ครับ เพราะว่าคำแปลอาจจะไม่สามารถสื่อ sense ของภาษาอังกฤษ หรือถ้าจับคำแปลไทยตรงตัวเกินไปนักอาจจะชวนให้เข้าใจผิดไปเลยก็ได้

คำแนะนำที่เขาให้ไว้ เมื่อจะพูดสิ่งที่เป็นการขัดแย้ง, ปฏิเสธ,ไม่เห็นด้วย,ขอร้อง ฯลฯ มีดังนี้ครับ

1.ตอบรับก่อนแล้วค่อยปฏิเสธ  คือถ้าคนฟังรู้สึกว่าเราตั้งใจฟังเวลาที่เขาพูด พอถึงเวลาที่เราจะเสนอะไร เขาจะยอมรับได้ง่ายขึ้น

โดยใช้ประโยคทำนองนี้

Yes, but… (ใช่ครับ แต่....)

I see what you mean, but… (ผมเข้าใจสิ่งที่ท่านพูด  แต่...)
I agree up to a point, but…   (ผมเห็นด้วยอยู่ส่วนหนึ่ง  แต่...)

ตัวอย่างการพูดแย้งสิ่งที่คนอื่นเสนอ:

เขาพูดแบบนี้:I think we should wait until a better opportunity comes along.

                     ผมคิดว่า เราน่าจะคอยจนกว่าโอกาสดีกว่านี้มาถึง
ถ้าจะแย้ง ให้แย้งแบบนี้:Yes, but we might not get another opportunity like this for a while.

                                   ใช่ครับ แต่โอกาสอื่นที่ดีอย่างนี้อาจจะไม่มีให้เราอีกนานพอสมควรทีเดียว

เขาพูดแบบนี้I think we should ask for a 20% discount because it will show them that we are serious.

                       ผมคิดว่า เราควรขอลดราคาสัก 20 % เพราะมันจะได้แสดงให้เขาเห็นว่า เราเอาจริงเอาจัง
 ถ้าจะแย้ง ให้แย้งแบบนี้::I see what you mean, but I think 20% might be a bit too much. It might put them off.

                                      ผมเข้าใจสิ่งที่ท่านพูด  แต่ผมคิดว่า 20% อาจจะมากเกินไปหน่อย มันอาจจะทำให้เขาไม่ชอบ

2.หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำเชิงลบ แต่ให้ใช้ถ้อยคำเชิงบวกในแบบปฏิเสธ

ถ้าใช้ถ้อยคำเชิงบวกคนฟังจะตอบรับดีกว่า แม้ว่าจะมีกริยาช่วยในรูปปฏิเสธ เช่น

อย่าพูดว่า: I think that’s a bad idea.

                 ผมคิดว่านั่นเป็นความคิดที่แย่

ให้พูดว่า: I don’t think that’s such a good idea.

               ผมไม่คิดว่า นั่นเป็นความคิดที่ดี

ถ้าเขาพูดว่า:Let’s go for a good cop, bad cop approach in this negotiation!

                   เราใช้ทั้งวิธีไม้อ่อนและไม้แข็งในการเจรจาครั้งนี้เถอะ
ถ้าจะแย้ง ให้แย้งว่า:I don’t think that’s such a good idea. They might see through it.

                              ผมไม่คิดว่า นั่นเป็นความคิดที่ดี พวกเขาอาจจะมองออก

3.ใช้คำที่ให้ผลอย่างวิเศษ คือ คำว่า ขอโทษ

คำนี้ สามารถใช้ในหลายสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการขอพูดขัดจังหวะ, ขอโทษ, พูดแสดงความสงสัย หรือแสดงการไม่เห็นด้วย  เมื่อเริ่มต้นพูดคำว่า “ขอโทษ” จะช่วยลดความตึงเครียด และเมื่อจะพูดอะไรต่อก็ง่ายขึ้น  เช่น

Sorry, but can I just say something here?

ขอโทษนะครับ แต่ให้ผมพูดอะไรบางอย่างที่นี่ได้ไหมครับ?
Sorry, but I don’t really agree.

ขอโทษครับ แต่ผมไม่เห็นด้วยซะทีเดียวนัก
Sorry, but I think that’s out of the question.

ขอโทษเถอะครับ แต่ผมคิดว่า นั่นเป็นไปไม่ได้แน่นอน

4.เติมอะไรเข้าไปบางคำเพื่อให้คำพูดของเราฟังแล้วนุ่มนวลขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องพูดปฏิเสธ
อย่าพูดว่า: I don’t like it.

                 ผมไม่ชอบมัน

แต่พูดว่า: I don’t really like it, I’m afraid.

               ผมเกรงว่า ผมคงไม่ค่อยชอบมันนัก

 อย่าพูดว่า: Can I say something?

                  ขอให้ผมพูดบางอย่างได้ไหม?
แต่พูดว่า: Can I just say something here?

               ขอให้ผมพูดอะไรสักนิดเดียวได้ไหม?

อย่าพูดว่า: I didn’t catch that.

                 ผมไม่ได้ยิน
แต่พูดว่า: Sorry, I didn’t quite catch that.

               ขอโทษเถอะครับ ผมได้ยินไม่ถนัดนัก

5.อย่าใช้คำพูดในเชิงตำหนิคนที่เราพูดด้วย  

 เพราะมันส่ออาการก้าวร้าวและเป็นคำพูดที่ตรงเกินไป คือ แทนที่จะพูดในทำนองว่า “คุณผิด” ก็ให้ย้ายสรรพนามมาเป็น “ผม” หรือ “ฉัน” แทน เช่น

อย่าพูดว่า: You don’t understand me.

                 คุณไม่เข้าใจผม
แต่พูดว่า: Perhaps I’m not making myself clear.

               บางที ผมอาจจะอธิบายไม่ค่อยชัด
อย่าพูดว่า: You didn’t explain this point.

                 คุณไม่ได้อธิบายจุดนั้น
แต่พูดว่า: I didn’t understand this point.

               ผมไม่เข้าใจจุดนั้น
อย่าพูดว่า: You need to give us a better price.

                คุณต้องให้ราคาที่ดีกว่านี้แก่เรา
แต่ให้พูดว่า: We’re looking for a better price.

                 เราอยากจะได้ราคาที่ดีกว่านี้

       ทั้ง 5 ตัวอย่างข้างบนนี้ น่าจะเป็นแนวทางในการพูดภาษาอังกฤษให้นุ่มขึ้น   แต่ดู ๆ แล้วก็นำมาปรับใช้ในการพูดภาษาไทยได้เหมือนกันนะครับ

ขอแถมอีก 2 ลิงค์ซึ่งมีเนื้อหาคล้าย ๆ กัน ข้างล่างนี้ครับ

http://www.londonschool.com/language-talk/blog/article/diplomatic-language-68/ 

http://www.myenglishteacher.eu/blog/a-practical-guide-to-using-diplomatic-english-in-a-business-environment/ 

พิพัฒน์

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Google
Search WWW Search Blog e4thai Search www.e4thai.com