Google WWW Blog e4thai www.e4thai.com

คำแนะนำสั้น ๆ ตรง ๆ ในการฝึกอ่านอังกฤษให้เก่ง

 Make-a-Habit-of-Reading-Step-2-Version-2

       ทุกคนรู้ว่า reading skill มีประโยชน์และจำเป็น แต่จะฝึกยังไงให้อ่านเก่ง ผมขออนุญาตให้ความเห็นและคำแนะนำแบบตรงไปตรงมาอย่างนี้ครับ

       [1] ถ้าขณะนี้ reading skill ของท่านอ่อนกว่าเกณฑ์ เช่น กำลังเรียนอยู่ระดับมัธยมแต่อ่านได้แค่ระดับประถม หรือเรียนอยู่ ปี 1  แต่อ่านได้แค่เด็ก ป.1 อย่างนี้ก็ต้องเปิดใจยอมรับความจริง การแก้ปัญหาก็เหมือนการปลูกบ้านบนผืนดินที่ทั้งต่ำ-ลุ่ม-แฉะ ถ้าไม่ถมดินซะก่อนก็ปลูกบ้านไม่ได้ หรือปลูกได้ไม่นานก็ทรุด ท่านต้องฟันธงตัดใจไปเลยว่า ถึงจะฝึกนานก็ยอม  และถ้าฝึกไม่หยุดอาจจะเก่งขึ้นได้โดยใช้เวลาไม่นานนัก จึงไม่ต้องกลัวล่วงหน้าไปก่อน

       [2] แล้วจะฝึกยังไงให้อ่านเก่ง คำตอบตรง ๆ ของผมก็คือ หาเรื่องที่ชอบหรือสนใจให้เจอ(หาเอง-ในเว็บ e4thai นี้มีเพียบ) และอ่านอย่างมีสมาธิทุกวัน ๆ ละอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง

       [3] ปัญหาใหญ่สุดของคนไทยในการอ่านน่าจะเป็นเรื่องศัพท์ แต่คุณครูมักจะสอนว่า ฝึกอ่านเรื่องที่ชอบซึ่งง่าย ๆ หรือไม่ยากเกินไป ถ้าติดศัพท์ก็เดาเอาบ้าง ถ้าเดาแล้วแม้จะรู้เรื่องแบบคลุมเคลือก็ไม่เป็นไร แต่ tip สำคัญในการเดาที่ผมขอแนะก็คือ

  • มองให้ออกว่าคำศัพท์ที่ติดนั้นมันเป็น noun (ทำหน้าที่ประธานหรือกรรม), หรือเป็น verb (แสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง), หรือเป็นคำขยายพวก adjective หรือ adverb
  • พอมองออกอย่างนี้ก็ค่อยเดาหรือตีความ step ที่ 2 เช่น ถ้าเป็น noun ก็ดูว่ามันน่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ หรือนามธรรม, ถ้าเป็น verb ก็ดูว่า ประธานตัวนี้มันออกอาการอย่างนี้(หรือมีกรรมมาต่ออย่างนี้) เพราะฉะนั้น verb ตัวนี้มันน่าจะแปลว่าอะไร, ส่วนคำขยาย ไม่ว่าจะเป็น adjective ซึ่งขยาย noun หรือ adverb ซึ่งขยาย verb ก็เดาหรือตีความทำนองเดียวกัน
  • แต่ถ้าเป็นคำสำคัญที่ควรรู้ให้ชัดก่อนอ่านต่อ ก็เปิดดิกซะหน่อย
  • จากที่แนะมานี้ท่านคงเห็นแล้วว่า การเดาคือดิกที่ดีที่สุด ถ้าเราไม่ฝึกเปิดดิกเล่มนี้ก็เป็นเรื่องน่าเสียดายนัก

       [4] แต่ถ้าเป็นการอ่านผ่านจอ เช่น จอ PC การเปิดดิกก็ง่ายแทบไม่เสียเวลาเลย คือเมื่อเดาเสร็จก็ตามด้วยเปิดดิกได้ทันที โดย→ที่นี่ ผมได้บอก add-on ดิกชันนารีหลายยี่ห้อให้ท่านเลือกติดตั้งได้ตามใจชอบ มีทั้งดิกอังกฤษ→ไทย และดิกอังกฤษ→อังกฤษ, เหตุที่ผมต้องให้ดิกอังกฤษ→อังกฤษไว้ด้วยก็เพราะว่า บ่อยครั้งที่คำแปลที่ดิกอังกฤษ→ไทยให้ไว้มันมีไม่มากพอ เช่น ไม่มีความหมายแปลก ๆ ใหม่ ๆ หรือไม่มีความหมายที่เป็น phrasal verb / informal / idiom / slang อย่างนี้ก็ต้องพึ่งดิกอังกฤษ→อังกฤษ 

       เอาเป็นว่าคำแนะนำของผมก็มีแค่ 4 ข้อนี้แหละครับ 


          แต่ผมขอแถมท้ายนิดนึง คือผมมี โปรแกรม  Encyclopedia Britannica 2015  ให้ท่านดาวน์โลดไปติดตั้งและฝึกอ่านสารพัดความรู้ในนั้น สารานุกรม Britannica นี้ติดอันดับโลก ถ้านับในแง่ความน่าเชื่อถือของข้อมูลก็มีมากกว่า Wikipedia เสียอีก 

        ความมากของบทความและการปรับให้เป็นปัจจุบัน โปรแกรมสารานุกรม Britannica 2015 ตัวนี้อาจจะสู้ Wikipedia ไม่ได้ แต่ถ้าท่านเข้าไปค้นเรื่องเก่า ๆ หรือเรื่องที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ หรือรวดเร็ว  เช่น ประวัติศาสตร์ประเทศ, ประวัติบุคคลสำคัญของโลกในอดีต, วัฒนธรรม, ศิลปะ, เรื่องวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น เกี่ยวกับสัตว์-พืช-โรค ฯลฯ ที่ท่านสนใจ จะมีให้อ่านเพียบเลยครับ และอีกอย่างหนึ่งที่ผมชอบมาก ๆ เป็นพิเศษก็คือ บทความที่ Wikipedia นั้นบางทีมันละเอียดมาก - ยาวมาก จนอ่านไม่ไหว แต่บทความที่ Britannica นี้มันเขียนได้กระชับ-กระจ่าง พอดี ๆ ท่านลองเข้าไปชิมอ่านตามที่ผมยกมาให้ดูเป็นตัวอย่างข้างล่างนี้ได้เลยครับ  ผมทำ Bookmarks ให้คลิกได้ง่าย ๆ แล้ว 

Encyclopedia-Britannica-Ultimate-Reference-Suite-2015

พิพัฒน์

www.facebook.com/en4th

Google
Search WWW Search Blog e4thai Search www.e4thai.com