Google WWW Blog e4thai www.e4thai.com

5 เครื่องมือวิเศษสุด ๆ เพื่อความชำนาญในคำศัพท์ (เข้าใจ + ใช้เป็น)

 Those-Who-Wish-to-Singสวัสดีครับ

       ในเว็บ e4thai.com นี้ ผมรวบรวมศัพท์อังกฤษพร้อมคำแปลไทยหลายชุด ให้ท่านที่สนใจได้ศึกษา เช่น    

       แต่เรื่องที่ผมย้ำบ่อย ๆ ก็คือ การท่องศัพท์ อังกฤษ – ไทย ให้จำได้เยอะ ๆ ยังไม่พอ !! ทำไมยังไม่พอ ? ไม่พอก็เพราะว่า...

[1] เมื่อเราเจอศัพท์คำนั้นในเรื่องที่เราอ่าน เราต้องสามารถนำคำแปลที่เราจำได้ไปตีความเนื้อเรื่องจนอ่านเข้าใจทั้งประโยค นี่หมายความว่า แม้ “รู้คำแปล” แล้ว ยังต้อง “ตีความ” ได้ด้วย คนที่เอาแต่ท่องคำศัพท์เป็นคำ ๆ แต่ละเลยการอ่าน  อาจจะแปลศัพท์ได้เป็นคำ ๆ ตามที่ท่องมา แต่อ่านทั้งประโยคไม่เข้าใจ  ซึ่งอาจจะมาจากหลายสาเหตุ

       ผมขอยกตัวอย่างสักนิดหน่อยดังนี้

[A] ความหมายที่เราเจอในประโยค  มันเกินจากความหมายที่เราท่องมา เช่น

They have quite  a bit of money . เราเคยแต่ท่องจำไว้ว่า a bit แปลว่า นิดหน่อย แต่ bit ในประโยคนี้ คือ quite a bit ซึ่งแปลว่า  a lot มาก ไม่ได้แปลว่า นิดหน่อย (อ้างอิง)

[B] Good accounting makes good friends. เราอาจจะเคยรู้มาว่า accounting แปลว่า การทำบัญชี  แต่ประโยคนี้ทั้งประโยคแปลว่า

You will keep your friends if you avoid disputes over money. ท่านจะยังคงรักษาความเป็นเพื่อนไว้ได้ถ้าไม่ทะเลาะกันเรื่องเงิน (อ้างอิง)

       ประโยคข้างบนที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ ไม่ได้ต้องการจะบอกว่า เราต้องสามารถตีความเรื่องที่อ่านและเข้าใจทันทีเมื่ออ่านจบ, มิได้ครับ... ผมไม่ได้หมายความอย่างนั้น, ผมเพียงแต่จะบอกว่า เมื่อเราสงสัย เราก็ไปค้นคว้าเพิ่มเติมให้หายสงสัย, แต่เราต้องยอมรับว่า คำแปลที่เราท่องไว้อาจจะใช้ไม่ได้เมื่อเจอของจริง  เหมือนฝาที่เตรียมมา เจอหม้อที่ใหญ่หรือเล็กผิดขนาด ใช้ด้วยกันไม่ได้ แต่ถ้าเราไม่คุ้นเคยกับการอ่าน, คือเราไม่ค่อยได้ฝึกตีความ,  เราจะสังเกตไม่ออก, บางครั้งเราระบุไม่ได้ด้วยซ้ำว่าจุดที่สงสัยคือตรงไหน

[C] บางที เรารู้คำศัพท์ทุกคำ แต่ประโยคมันยาวมาก, ยาวจนไม่รู้ว่า ประธาน-กริยา-กรรม-ส่วนขยาย มันเริ่มต้นหรือสิ้นสุดตรงไหน,  อะไรขยายอะไร, อะไรถูกอะไรขยาย ท่านลองดูประโยคนี้ครับ ผมลอกมาจาก นสพ. Bangkok Post

The true facts surrounding impact on tourism from the bomb at the Ratchaprasong intersection that killed 20 people and injured 131 - most of them foreign tourists - contrast sharply with remarks made Tuesday by National Council for Peace and Order spokesman Winthai Suvaree, who tried to play down any suggestion visitors might be put off of Thailand. (อ้างอิง)
       หรือถ้าไปอ่านคำแปลของ Google Translate  ยิ่งไม่รู้เรื่อง

"ข้อเท็จจริงความจริงผลกระทบโดยรอบในการท่องเที่ยวจากระเบิดที่สี่แยกราชประสงค์ที่ถูกฆ่าตาย 20 คนและบาดเจ็บ 131 - ส่วนใหญ่ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ - ความคมชัดอย่างมากกับคำพูดที่ทำวันอังคารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติโฆษก Winthai Suvaree ที่พยายามจะลงเล่น ข้อเสนอแนะของผู้เข้าชมใด ๆ ที่อาจจะมีการเลื่อนออกไปแห่งประเทศไทย"

    wish work   

       ท่านอาจจะถามว่า ถ้าอย่างนี้ก็ต้องเอาหนังสือแกรมมาร์มาอ่านให้เข้าใจชัด ๆ ซีนะ คำตอบของผมคือ การท่องศัพท์หรืออ่านหลักแกรมมาร์  แม้จะมีประโยชน์  แต่ก็ไม่ควรทำมากเกินไปจนแย่งเวลาที่ควรให้กับการอ่านเนื้อเรื่องตรง ๆ, ฝึกเจอศัพท์จริง ๆ, ฝึกตีความบ่อย ๆ, ฝึกเดาเพื่อให้สมองที่ถูกสร้างมาเพื่อการเดาได้ทำงานบ้าง, ฝึกสังเกตสิ่งที่ครูไม่เคยสอน ฯลฯ ทั้งหมดนี้แหละครับคือคำตอบ  ไม่ใช่เอาแต่ท่องศัพท์หรืออ่านหลักแกรมมาร์

[2] แม้ว่าการท่องศัพท์และจำคำแปลได้   อาจจะช่วยให้เราเข้าใจได้บ้างเมื่ออ่านและฟัง แต่เมื่อถึงเวลาเขียนและพูด เราอาจจะแต่งประโยคไม่ออก เพราะเราไม่คุ้นเคยกับคำศัพท์ที่เราท่องในประโยคจริง ๆ เหมือนมีเครื่องปรุงตามตำรา และอุปกรณ์ในครัวครบทุกอย่าง  แต่ให้เราแกงสักหม้อก็คงทำไม่เป็น  ถ้าไม่เคยเข้าไปหยิบ ๆ จับ ๆ ลองปรุง ลองชิม ด้วยตัวเองจริง ๆ คนไทยทุกวันนี้เรียนคำศัพท์เหมือนกับคนซื้อแกงถุงกิน  เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำกินเองก็ทำไม่เป็น เมื่อถึงเวลาที่ต้องพูดก็พูดไม่เป็น เพราะไม่ค่อยได้ลุยเข้าไปอ่าน  ลุยเข้าไปฟัง  ลุยเข้าไปพูด เอาแต่อ่านคำแปลศัพท์, อ่านการวิเคราะห์คำศัพท์, อ่านการสรุปหรือตีความแกรมมาร์  แล้วก็สงสัยว่า ทำไมภาษาอังกฤษของตัวเองถึงแย่

       ในเว็บนี้ ผมจึงแนะนำบ่อย ๆ ให้ท่านอย่าเอาแต่ท่องศัพท์  แต่ให้เข้าไปเจอศัพท์ที่ใช้จริง ๆ โดยฝึกอ่านและฝึกฟังบ่อย ๆ

       และวันนี้ผมขอแนะนำเว็บสุดวิเศษ 5 กลุ่ม ให้ท่านฝึกเพิ่มความชำนาญในคำศัพท์, ช่วยให้ท่านเข้าใจเมื่ออ่าน และใช้เป็นเมื่อพูด  


 เว็บกลุ่มที่ 1

พิมพ์คำศัพท์ลงไป จะมีประโยคตัวอย่างมากมายที่ใช้คำศัพท์นั้น ให้ท่านศึกษา  


เว็บกลุ่มที่ 2

       เว็บประโยคตัวอย่างข้างบนก็มีข้อจำกัดอยู่ที่  ไม่ได้บอกว่าคำศัพท์ในแต่ละประโยคตัวอย่างมีความหมายอย่างไร เพราะศัพท์แต่ละคำมีหลายความหมาย เพราะฉะนั้นเมื่ออ่านแต่ละประโยคเราจึงต้องตีความเองว่ามันหมายความว่าอย่างไร

       ถ้าท่านรู้สึกว่า การตีความเช่นนี้เป็นเรื่องยาก  ท่านก็ต้องเข้าไปที่เว็บดิกข้างล่างนี้, พิมพ์คำศัพท์ลงไป, เขาจะแสดงประโยคตัวอย่างที่ใช้ในแต่ละความหมายให้ท่านศึกษาอย่างชัดเจน

  • Oxford Advanced Learner's Dictionary -เว็บ •   [คลิก Extra examples ด้วยนะครับ]
  • Longman Dictionary of Contemporary English - เว็บ 
  • Cambridge Advanced Learner's Dictionary - เว็บ •   [คลิก More examples ด้วยนะครับ]
  • Merriam-Webster's Advanced Learner's Dictionary    - เว็บ 
  • Macmillan English Dictionary for Advanced Learners   - เว็บ  
  • Collins COBUILD Advanced Learner's English Dictionary -   เว็บ  • 
  • Newbury House Dictionary (Am)  - เว็บ  
  • Wordsmyth Advanced Dictionary   เว็บ

เว็บกลุ่มที่ 3

ถ้าท่านรู้สึกว่า น่าจะมีบางเว็บที่พิมพ์คำศัพท์ครั้งเดียวสามารถดูเว็บดิกได้ทุกเว็บ ก็ไปที่ 2 เว็บนี้ครับ

       พิมพ์คำศัพท์ลงในช่อง Type a word & select a dictionary, คลิกเลือกดิกชันนารี ใต้บรรทัด English dictionary (British) หรือ English dictionary (American)

       ในกล่องขวามือ Find a word or expression, พิมพ์คำศัพท์แทนคำว่า Go, ใต้ English dictionaries ให้เลือกเว็บดิกชันนารีที่ต้องการ

ทั้ง 2 เว็บข้างบนนี้ ถ้าท่านต้องการเปลี่ยนไปดูประโยคตัวอย่างที่เว็บดิกยี่ห้ออื่น ก็เพียงเปลี่ยนไปคลิกที่ปุ่มดิกเว็บนั้น  โดยไม่ต้องพิมพ์คำศัพท์คำนั้นอีก


เว็บกลุ่มที่ 4

ถ้าท่านต้องการศึกษาประโยคตัวอย่างของคำศัพท์พื้นฐานทั้งชุด เช่น 1000 คำ หรือ 2000 คำ หรือคำศัพท์ของเด็กนักเรียน Grade 1, Grade 2, Grade 3 ที่มีผู้รู้รวบรวมไว้เรียบร้อยแล้ว และเราก็เพียงคลิกศึกษาความหมายและประโยคตัวอย่างไปทีละคำ ๆ ถ้าท่านต้องการอย่างนี้ ก็มีอยู่ 1 เว็บที่ให้บริการอย่างนี้, ผมขอแนะนำเว็บใช้ฝึก 5 บรรทัดข้างล่างนี้

  • ศัพท์พื้นฐาน 1000 คำ: Most Common Words List 
  • ศัพท์สำหรับนักเรียน Grade 1 -7:  1st2nd - 3rd - 4th - 5th -  6th - 7th - Dolch List
  • ศัพท์พื้นฐานแยกเป็นหมวดBasic
  • ศัพท์ 100 คำสำหรับนักเรียนมัธยม: 100 Words  
  • ศัพท์วิชาการ: Academic List

       เมื่อคลิกเข้าไปแล้ว  ผมขอแนะนำ 3 ปุ่มให้ท่านคลิกใช้งาน

ปุ่มที่ 1 (Definition) ซ้ายมือสุด ขอแนะนำให้เลือกคลิก Oxford หรือ Cambridge  

ปุ่มที่ 2 (Translation) เป็นปุ่มแปลคำศัพท์ ให้คลิกเลือก Thai

ปุมที่ 3 (Usage) ยังไม่ต้องสนใจก็ได้

ปุ่มที่ 4 คลิกฟังการออกเสียงคำศัพท์

วิธีใช้งาน: ให้คลิกปุ่มที่ต้องการใช้งาน, คลิกคำศัพท์ด้านล่าง, เพื่อดูความหมาย ประโยคตัวอย่าง คำแปลไทย หรือ ฟังเสียงอ่านคำศัพท์


 เว็บกลุ่มที่ 5

       ในกรณีที่ท่านมีข้อความภาษาอังกฤษที่ต้องการจะอ่านศึกษา เช่น ข่าว, story, บทความ, หรือ English wordlist สัก 1000, 2000, 3000 คำ หรืออะไรก็ตาม  และต้องการเครื่องมือ  ที่เป็นทั้งดิก อังกฤษ-อังกฤษ และดิก อังกฤษ-ไทย ให้คลิกดูความหมาย, คำแปล, ประโยคตัวอย่าง ได้ทันที ก็ใช้ลิงก์นี้ครับ

  1. พิมพ์คำศัพท์ในช่องสี่เหลี่ยมใหญ่กลางหน้า
  2. คลิก Click here ที่มุมบนขวาของสี่เหลี่ยม
  3. ที่เหนือมุมบนซ้ายของสี่เหลี่ยม  ให้คลิกปุ่มที่ 1 (Definition) และ ปุ่มที่ 2 (Translation) ตามการใช้งานที่ชี้แจงในเว็บกลุ่มที่ 4 ข้างบน

         rainbow rain

        คำชี้แจงที่ผมให้ในวันนี้อาจจะไม่ละเอียดพอ  แต่ผมขอให้ท่านลองค่อยๆ ศึกษาด้วยตัวเองสักนิด เมื่อรู้จักวิธีใช้ดีพอแล้วก็จะได้เครื่องมือที่วิเศษมาก ในการทำความรู้จักคุ้นเคยกับคำศัพท์ใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย ด้วยประโยคตัวอย่างมากมายจากดิกหลาย ๆ ยี่ห้อ จนทำให้ศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยกลายเป็นศัพท์ที่คุ้นเคย คือคุ้นเคยทั้งความหมายและการใช้

       ท่านผู้อ่านครับ ขอสารภาพครับ เมื่อพิมพ์อธิบายมาจนถึงบรรทัดนี้ ผมรู้สึกว่าเรื่องที่ชี้แจงนี้มันแห้งแล้งจริง ๆ เหมือนอาหารที่กินแล้วไม่อร่อยแถมฝืดคออีกต่างหาก แต่ผมอยากให้ท่านผู้อ่านทนฝึกใช้ไปสักระยะนึงเถอะครับ และในหลาย ๆ ตัวที่ผมแนะนำนี้ ถ้าท่านสามารถนำมาใช้ได้อย่างคล่องมือแม้แค่ตัวเดียว ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้วครับ

พิพัฒน์

https://www.facebook.com/En4Th

 วิธีติดตั้ง add-on "แปล ศัพท์ ทุกคำ-ทุกเว็บ-ทันที " โดยไม่ต้องเข้าเว็บ ดิก 

Google
Search WWW Search Blog e4thai Search www.e4thai.com