Google WWW Blog e4thai www.e4thai.com

ถาม-ตอบ

..........65: มีปัญหาเรื่องการอ่าน จะแก้ยังไง?

ถาม:

       อาจารย์ครับ รบกวนถามหน่อยครับ ผมมีปัญหาเรื่องการอ่านมากเลยครับ พอจะแนะนำ วิธีฝึกฝนพัฒนาทักษะส่วนนี้ยังไงบ้างครับ

       ผมฝึกมาจะเข้าปีที่สองแล้วครับอาจารย์

วันละหนึ่งถึงสองชั่วโมงครับ

แต่ว่าไม่ได้ฝึกทุกวันนะครับ

ผมฝึกจากไม่เปนภาษาอังกฤษเลยครับ

จนตอนนี้สามารถฟังและพูดได้ในระดับที่สามารถสื่อสารได้อะครับ

       แต่ตอนนี้ปัญหาของผมคือ อ่านกับเขียนครับ

ผมจะอ่านหนังสือเปนเล่มๆซะส่วนใหญ่อะครับ

หนังสือที่อ่านเปนพวกการเงิน การลงทุน และจิตวิทยา พัฒนาตัวเอง ประมาณนี้อะครับ

ที่อ่านเพราะผมอยากเปนนักลงทุนครับ แต่ผมจบวิศวะ มาครับ

การอ่านเลยเป็นปัญหาของผมตอนนี้เลยครับ

       ปัญหาของผมเกี่ยวกับการอ่านนะครับ ข้อแรก คือเวลาผมอ่านแล้วไม่เข้าใจเหมือนกับอ่านหนังสือภาษาไทยครับ จะเข้าใจรวมๆ แค่ 40-50% ของที่อ่านทั้งหมดครับ มันทำให้ผมรู้สึกหงุดหงิดตัวเองมากครับเวลาอ่านหนังสือ

      ผมคิดว่าที่เป็นแบบนี้เพราะว่า ความรู้ความเข้าใจในคำศัพท์ผมไม่เยอะพออะครับ

เลยทำให้ ไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาของที่อ่านได้ครับ

ข้อสองก็ เรื่องการอ่านออกเสียงครับ บางครั้งผมอ่านแล้ว ไม่สามารถออกเสียงคำนั้นได้ถูกต้องครับ

สาเหตุน่าจะมาจากผมฟังมาไม่เยอะพอครับ

ตอบ:

       คำตอบของผม อันดับแรกสุด ก็ต้องย้อนกลับถามคุณว่า อิทธิบาทสี่ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา คุณปฏิบัติครบหรือเปล่า

ฉันทะ รักที่จะเรียน ข้อนี่คุณอาจจะผ่าน

วิริยะ  คุณบอกว่า “คุณฝึกมาจะเข้าปีที่สองแล้ว วันละหนึ่งถึงสองชั่วโมง  แต่ว่าไม่ได้ฝึกทุกวัน” นี่หมายความว่าอย่างไร ถ้าหมายความว่า ฝึกเท่าที่มีเวลาให้มันได้ เช่น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง   หรือ สองสัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง   นี่แปลว่า วิริยะของคุณสอบตก เพราะวิริยะแปลว่า ต้องฝึกทุกวัน ถ้าไม่มีเวลาก็ต้องเจียดเวลาให้ได้  ข้อนี้คุณต้องตอบตัวเองด้วยความซื่อสัตย์ว่า วิริยะของคุณมันน้อยเกินไปหรือเปล่า

จิตตะ คือมีสมาธิเต็มเปี่ยม ณ นาทีที่ฝึกด้วยวิริยะ ถ้าคุณใจร้อน หงุดหงิด  เพราะฝึกไม่ได้ผลเร็วทันใจ ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ฟุ้งซ่าน โลเล ไม่แน่ใจในการฝึก ถ้าคุณเป็นเช่นนี้ แสดงว่า คุณสอบตกเรื่องจิตตะ  ต่อให้ฝึกนานก็เป็นการฝึกที่ไร้ประสิทธิภาพ  เหมือนใช้ถังที่รั่วหรือร้าวเก็บน้ำ เก็บยังไงก็ไม่อยู่

ข้อสุดท้าย คือ วิมังสา คือ ใช้วิธีการฝึกที่ดี มีประสิทธิภาพ และปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อให้การฝึกมีผลดียิ่ง ๆ ขึ้นไป  และสิ่งที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้ ก็อาจจะช่วยคุณได้บ้าง ในการปรับปรุงวิมังสานี่แหละครับ

       คุณบอกว่า อ่านแล้วไม่เข้าใจเหมือนกับอ่านหนังสือภาษาไทย จะเข้าใจรวมๆ แค่ 40-50% ของที่อ่านทั้งหมด และคิดว่าที่เป็นแบบนี้เพราะว่า ความรู้ความเข้าใจในคำศัพท์ ไม่เยอะพอ

       ความเห็นของผมเกี่ยวกับประเด็นนี้ มีอย่างนี้ครับ

A – เนื้อหาที่คุณอ่านเป็นเรื่องหนัก พวกการเงิน การลงทุน และจิตวิทยา การพัฒนาตัวเอง และเมื่ออ่านเป็นภาษาอังกฤษก็ยิ่งหนักขึ้น

B – สำหรับบางเรื่องที่เป็นเรื่องเทคนิคมาก ๆ เช่น เรื่องการเงิน การคลัง  การลงทุน ที่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานก่อน คุณควรหาหนังสือภาษาไทยมาอ่านให้รู้ทฤษฎีไว้ก่อน นี่เป็นสิ่งจำเป็นครับ คุณเคยสังเกตไหมครับว่า แม้แต่เป็นตำราภาษาไทยแท้ ๆ เช่น ตำราเศรษฐศาสตร์ ตำราวิชาสถิติ ฯลฯ ถ้าเป็นเรื่องระดับ advanced การจะอ่านรู้เข้าใจ เราต้องมีความรู้ในระดับ basic มาก่อน แต่นี่คุณยิ่งมาอ่านตำราเป็นภาษาอังกฤษ การรู้เรื่อง basic ของมันจึงจำเป็นยิ่งขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้น ต้องหาพวกนี้มาอ่านก่อนครับ  จะอ่านที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ก็แล้วแต่คุณ

C – เรื่องศัพท์ก็เป็นสิ่งจำเป็น แต่ข้อที่หลายคนอาจจะไม่รู้ก็คือ ดิกชันนารีอังกฤษ – ไทย ส่วนใหญ่ มีศัพท์น้อยเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งศัพท์หรือความหมายใหม่ ๆ ที่เพิ่งเกิด แทบหาไม่ได้เลยในดิกอังกฤษ – ไทย เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าไปหาความหมายของศัพท์เทคนิคในดิกอังกฤษ-ไทย ก็หวังยากที่จะได้เจอ หรือแม้เจอก็เป็นคำแปลของความหมายธรรมดา ๆ เอาไปแปลยังไงก็ไม่รู้เรื่อง เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นจึงจำเป็นต้องใช้ดิกอังกฤษ – อังกฤษ ซึ่งผมขอแนะนำ 2 อันนี้

D – ถ้าคุณอ่านภาษาอังกฤษผ่านเน็ต ก็มี add-on ที่ช่วยให้คุณคลิกดูความหมายหรือคำแปลของคำศัพท์ได้ทันทีโดยไม้ต้องเสียเวลาเปิกดิก

E – เรื่องแกรมมาร์พื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้างประโยค และ part of speech ก็เป็นเรื่องพื้นฐานที่จำเป็นต้องรู้ในการอ่านภาษาอังกฤษให้เข้าใจ ลองดูที่ 2 บทความนี้ครับ

       คำแนะนำเล็ก ๆ น้อยเหล่านี้ น่าจะมีประโยชน์บ้างนะครับ

พิพัน์

Google
Search WWW Search Blog e4thai Search www.e4thai.com